มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ พระราชทานตราบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยฯ ให้กับ ร.ร.ที่ผ่านการประเมิน 60 ร.ร.
12 ก.ค. 2566, 14:27
เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 12 ก.ค.2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุมเพชร สพป.ศรีสะเกษ เขต 1 อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ นายสุเทพ ศรบุญทอง ผอ.สพป.ศรีสะเกษ เขต 1 มอบหมายให้ น.ส.รุ่งอรุณ เมธาภัทรกุล รอง ผอ.สพป.ศรีสะเกษ เขต 1 เป็นประธานในพิธีรับตราพระราชทาน “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” ปีการศึกษา 2563 เพื่อนำส่งมอบตราพระราชทานให้กับ ร.ร.ที่ผ่านการประเมิน จำนวน 60 ร.ร.โดยมี นายทองคำ จันทร์โสภา ผอ.กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา เป็นผู้กล่าวรายงาน และมี นางปุณิกา ธรรมนูญ รอง ผอ.สพป.ลำพูน เขต 2 ช่วยปฏิบัติราชการ สพป.ศรีสะเกษ เขต 1 พร้อมด้วย นายสุรชาติ ทอนศรี ผอ.ร.ร.อนุบาลศรีสะเกษ นายสุวิชญาณ พงษ์เกษ นายกสมาคมผู้บริหารสถานศึกษา อ.วังหิน คณะศึกษานิเทศก์ นำผู้บริหารสถานศึกษา และข้าราชการครู เข้ารับตราพระราชทานในครั้งนี้
นายทองคำ จันทร์โสภา ผอ.กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา กล่าวว่า ตามที่ สพฐ.ร่วมกับ มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ และเครือข่ายโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ได้ดำเนินงานบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับปฐมวัย ตั้งแต่ปีการศึกษา 2554 จนถึงปัจจุบัน โดยในแต่ละปีการศึกษา ร.ร.ในโครงการจะได้รับการประเมินคุณภาพการจัดการเรียนรู้ เพื่อรับตราพระราชทาน “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” และในปีการศึกษา 2563 มี ร.ร.ในสังกัด สพป.ศรีสะเกษ เขต 1 ผ่านการประเมิน จำนวน 60 ร.ร.แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง จึงได้เลื่อนการจัดพิธีรับตราพระราชทานออกไปอย่างไม่มีกำหนด ในการนี้ สพฐ.ได้จัดส่งตราพระราชทาน “บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” เพื่อส่งมอบให้กับ ร.ร.ที่ผ่านการประเมิน จำนวน 60 ร.ร.ประกอบด้วย ร.ร.ที่ผ่านการประเมิน รอบที่ 1 จำนวน 28 ร.ร.รอบที่ 2 จำนวน 13 ร.ร.และรอบที่ 3 จำนวน 19 ร.ร.
น.ส.รุ่งอรุณ เมธาภัทรกุล รอง ผอ.สพป.ศรีสะเกษ เขต 1 กล่าวว่า ตนขอแสดงความยินดีกับทุก ร.ร.ที่ผ่านการประเมินคุณภาพการจัดการเรียนรู้ เพื่อรับตราพระราชทาน "บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย" ในปีการศึกษา 2563 นับเป็นเกียรติประวัติของ ร.ร.ทั้ง 60 แห่ง ที่ผ่านการประเมินรอบที่ 1 รอบที่ 2 และรอบที่ 3 ซึ่งการผ่านการประเมินนั้น เป็นการแสดงถึงศักยภาพของคุณครูปฐมวัยที่ตั้งใจในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการทดลองตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย และการจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ปฐมวัย ซึ่งกิจกรรมการทดลองและการทำโครงงานวิทยาศาสตร์นั้น จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการต่าง ๆ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา และยังเป็นการพัฒนาทักษะ กระบวนการ และคุณลักษณะจิตวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยที่จะเป็นรากฐานที่ดีของการพัฒนาคุณภาพของพลเมืองไทยในอนาคตที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยต่อไป ขอขอบคุณผู้บริหารสถานศึกษาทุก ร.ร.ที่ร่วมส่งเสริม สนับสนุน ช่วยเหลือคุณครูปฐมวัยในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ดังกล่าว และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านจะให้ความสำคัญในการพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัยอย่างยั่งยืน เพื่อให้เป็นตัวอย่างที่ดีของการพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัยของ สพป.ศรีสะเกษ เขต 1 ต่อไ