รมว.ศธ. คุมเข้ม ผอ.รร.งาบอาหารกลางวันนักเรียน
11 พ.ย. 2565, 14:59
สืบเนื่องมาจาก มติคณะรัฐมนตรี เห็นชอบการปรับเพิ่มอัตราค่าอาหารกลางวันของนักเรียน ชั้นเด็กเล็ก-ป.6 ทั่วประเทศ โดยปรับอัตราค่าอาหารกลางวัน ได้ปรับอัตราให้ตามขนาดของโรงเรียนต่อคนต่อวัน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 1-40 คน ได้รับเงินค่าอาหารกลางวัน 36 บาท/คน/วัน โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 41-100 คน ได้รับเงินค่าอาหารกลางวัน 27 บาท/คน/วัน โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 101-120 คน ได้รับเงินค่าอาหารกลางวัน 24 บาท/คน/วัน โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียนตั้งแต่ 121 คนขึ้นไป ได้รับเงินค่าอาหารกลางวัน 22 บาท/คน/วัน โดยเพิ่มขึ้นจากเดิมที่กำหนดในอัตรา 21 บาทต่อคนต่อวัน เป็นเงิน 3,533,280,000 บาท ซึ่งจะเริ่มใช้ในการจัดทำแผนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 28,365,864,000 บาท
กรณี ดังกล่าว นายธนรรชน พหลทัน ผู้รับรางวัลบุคคลดีเด่น ในการต่อต้านการทุจริต จาก ศ.พิเศษ วิชา มหาคุณ ประธานมูลนิธิต่อต้านการทุจริต ได้ออกพูดแสดงความคิดเห็นเพื่อสื่อสารไปยัง นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ขอให้คุมเข้มในส่วนของเขตการศึกษา และโรงเรียน ให้ใช้จ่ายเงินค่าอาหารกลางวัน โดยเน้นให้พ่อ-แม่ ผู้ปกครองนักเรียน ได้มีส่วนร่วมตรวจสอบอย่างโดยโปร่งใส
เนื่องจากในอดีต ที่ผ่านมา การบริหารจัดการเงินอาหารกลางวันเด็ก มีสถานศึกษาบางแห่งในระดับประถมศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาจัดการแบบไม่มีประสิทธิภาพ ทำอาหารกลางวันไม่คุ้มค่ากับเงินงบประมาณที่ใช้จ่ายไป กรณีที่พบเป็นส่วนมาก จะเป็นการเบิกเงินอาหารกลางออกมาแล้วไม่ทำเต็มเม็ดเต็มหน่วย มีการนำเอาส่วนต่างไปใช้ผลประโยชน์ส่วนตน และยังมีการเบิกเงินอันเป็นเท็จอีกด้วยก็ดีมี ซึ่งพบเห็นจากการเคยตรวจสอบที่ผ่านมา
นอกจากนี้ นายธนรรชน ยังได้ขอบคุณรัฐบาล ที่ได้เพิ่มอัตราค่าอาหารกลางวันของนักเรียน เพื่อที่จะทำให้เด็กมีอาหารรับประทานอาหารกลางวันครบ 5 หมู่ เติบโตมีสุขภาพที่แข็งแรง แต่สิ่งที่จะขอฝากให้คำแนะนำไปยัง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่ ซึ่งมีอำนาจในการควบคุมกับกำดูแลสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ควรจะดำเนินการวางระบบวิธีปฏิบัติอาหารกลางวันให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพราะในอดีตมีการทุจริตตกเป็นข่าวที่ผ่านมาหลายครั้ง
ดังนั้น เมื่อรัฐบาลเพิ่มเงินอาหารกลางวันให้กับเด็กๆแล้วก็ควรจะนำเงินจำนวนนั้นมาใช้จ่ายให้มีประสิทธิภาพ มีการบริหารความเสี่ยง ป้องกันการทุจริต ซึ่งสำนักงานเขตการศึกษา หรือสถานศึกษา และผู้ปกครอง น่าจะมีส่วนร่วมสอบทานซึ่งกันและกันอย่างเข้มข้น เพื่อให้การควบคุมกำกับอาหารกลางวันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์ต่อเด็กสูงสุด และขอฝากถึง รมว.กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดนโยบายเป็นพิเศษเพื่อให้สำนักงานเขตพื้นที่ สถานศึกษาได้ควบคุมกำกับการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวัน มิให้เงินเกิดการรั่วไหลสิ้นเปลือง