เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



หลักสูตรบริหารธุรกิจ  ม.มหิดล  ลงพื้นที่ช่วยชุมชน วางแผนระบบธุรกิจ Marketing Online ส่งสินค้าชุมชน


16 ก.ย. 2565, 21:19



หลักสูตรบริหารธุรกิจ  ม.มหิดล  ลงพื้นที่ช่วยชุมชน วางแผนระบบธุรกิจ Marketing Online ส่งสินค้าชุมชน




วันนี้  16 กันยายน  2565  ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า ผศ ดร.พรปวีณ์ วรเศรษฐ์พงศา  อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต  มหาวิทยาลัยมหิดล  วิทยาเขตกาญจนบุรี  และเป็นหัวหน้า โครงการศึกษาวิจัย “การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนและวางแผนกำไรที่มีประสิทธิภาพสำหรับผลิตภัณฑ์ ชุมชน”  ได้เปิดเผยข้อมูล  การศึกษาวิจัย เพื่อช่วยชุมชนวางแผนระบบระบบธุรกิจ Marketing Online  เพื่อส่งสินค้าชุมชน ให้สอดคล้องตามความต้องการของลูกค้า ส่งเสริมให้ผู้ผลิตสินค้า       ในชุมชนสามารถวิเคราะห์จุดคุ้มทุนและวางแผนกำไร  สามารถเพิ่มราคาขายสินค้าชุมได้มากยิ่งขึ้น  นอกจากนี้ เพิ่มกลุ่มลูกค้ารายใหม่ และเข้าถึงฐานข้อมูลชุมชน

โดยเมื่อ ปี 2564 ที่ผ่านมา  ทีมวิจัยมหาวิทยาลัยมหิดล  วิทยาเขตกาญจนบุรี โดยอาจารย์และนักศึกษา ได้ลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลสินค้าชุมชน ในอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี  ซึ่งเป็นพื้นที่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติอันมีคุณค่า ทั้ง ดิน ป่าไม้ ที่เป็นปัจจัยส่งเสริมให้ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นอาชีพหลัก แต่การทำอาชีพเกษตรกรรม  ส่วนใหญ่สามารถทำการเพาะปลูกได้เพียงปีละ 1 ครั้ง ส่งผลให้เกษตรกรที่ยึดอาชีพเพาะปลูกเพียงอย่างเดียวมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ  เกษตรกรจึงต้อง หาช่องทางการสร้างรายได้จากอาชีพเสริม สอดคล้องกับ ใน อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจบุรี เป็นชุมชนที่มีผู้นำที่มีความเข้มแข็งและสามารถส่งเสริมให้ชาวบ้านร่วมกันสร้างอาชีพเสริมภายหลังการทำเกษตรกรรม  โดยใช้วัตถุดิบที่มาจากชุมชนในพื้นที่  ทีมผู้ศึกษาวิจัย  ได้ลงพื้นที่พูดคุยพบปะกับชาวบ้านผู้ผลิตสินค้าชุมขน เพื่อศึกษาบริบทชุมชน เรียนรู้กระบวนการผลิต  และได้รับทราบปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต และ ปัญหา ช่องทางการตลาด

พบว่า สินค้าชุมชน ส่วนมาก เป็นวัตถุดิบหลักในหมู่บ้าน ที่มีกระบวนการดูแลวัตถุดิบ เป็นอย่างดีจากทุกๆ คนในชุมชน ซึ่ง เปรียบเสมือนแหล่งรายได้หลักของชุมชน ชาวบ้าน กว่า 60 ครัวเรือน มีอาชีพเสริมเพื่อสร้างรายได้จากการผลิตสินค้าดังกล่าว   เมื่อว่างเว้นจากประกอบอาชีพหลัก  ชาวบ้านในชุมชน ต่างมุ่งมั่นมาผลิตสินค้าชุมชน เพื่อมาทำเป็นอาชีพรอง   และนอกจากนี้ ยังได้ศึกษาข้อมูล พบว่า ประชาชนในชุมชนมีอาชีพหลักและอาชีพรองที่ผูกพันกับการทำผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยมีประสบการณ์ในแวดวงสินค้าได้ดี  จากผลการศึกษารวบรวมข้อมูล  พบว่าแต่ละครัวเรือน   มีประสบการณ์ในการผลิตสินค้าชุมชน มากที่สุด (Maximize) 30 ปี และ น้อยที่สุดยังไม่ถึง 1 ปี(Minimize)

และเมื่อปีที่ผ่านการเกิดสถานการณ์ การระบาดของ Covid-19 ในปัจจุบันมีคนหนุ่มสาวย้ายกลับบ้านเกิดและได้ให้ความสนใจในอาชีพสินค้าในชุมชน ร่วมกับคนในครอบครัวเพิ่มมากยิ่งขึ้น  จึงทำให้สมาชิกในครัวเรือนในปัจจุบันได้ร่วมกันผลิตสินค้า  ซึ่งแต่ละคนมีความสามารถในแต่ละขั้นตอนแตกต่างกัน บางคนทำขั้นตอนหนึ่งได้อย่างรวดเร็วแต่ไม่สามารถ ทำบางขั้นตอนได้ถนัด  โดยจัดแบ่งหน้าที่กันตามความสามารถทำให้ลดต้นทุนการจ้างผู้อื่นหรือต้องจ่ายเงินค่าวัตถุดิบทั้งเป็นรายได้หลักและรายได้รอง ของคนในหมู่บ้านโดยทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น ลูกหลานไม่ต้องไปทำงานยังเมืองใหญ่หรือในพื้นที่ห่างไกลและจำหน่ายให้กับศูนย์รับซื้อ โดยมี ผู้แทนชุมชนเป็นผู้จัดการหลัก

แต่ปัญหา ที่พบในกระบวนการจำหน่ายสินค้าของชุมชน   ไม่มีผู้ตอบคำถามได้แม้แต่คนเดียวว่า ต้นทุนที่แท้จริงมีมูลค่าเท่าไร และทุกวันนี้ราคาที่ขายไปได้ กำไรกี่บาท  จึงเป็นจุดเริ่มต้น ของ โครงการ  “การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนและวางแผนกำไรที่มีประสิทธิภาพสำหรับผลิตภัณฑ์ ชุมชน ของชุมชน  “    จึงได้ดำเนินการ ถ่ายทอดความรู้  และนำสินค้าไปจำหน่ายจริงให้กับประชาชนในชุมชน  เพื่อให้ประชาชน ได้เรียนรู้วิธีการคิดจุดคุ้มทุน  ซึ่งจะมีต้นทุนผันแปร การวางแผนกำไรที่มีประสิทธิภาพ ต้อง ประเมินตามสภาพเศรษฐกิจ เช่น เศรษฐกิจดี เศรษฐกิจปานกลาง และ เศรษฐกิจย่ำแย่ ดังนั้นหากต้องการได้กำไรเพิ่มมากขึ้น ต้อง ลดต้นทุนคงที่ หรือ ลดต้นทุนผันแปร เพิ่มราคาขาย และหาโอกาสเพิ่มยอดขาย

จึงเป็นที่มาของการ ส่งเสริมสินค้า ชุมชน เข้าสู่ ตลาดออนไลน์  Marketing Online   สามารถทำให้ศูนย์กลางการรับซื้อสินค้า จากราคาขายจากเดิม เพิ่มเป็นอีกเท่าตัว ซึ่งรับจากชาวบ้านมา  เมื่อราคาขายเพิ่มสูงขึ้นทำให้ขยับราคารับซื้อเสินค้า จากชาวบ้านเพิ่มขึ้น  อย่างไรก็ตามปัญหาที่เกิดขึ้นในช่องทางการตลาดใหม่ เนื่องจากปัญหาการแข่งขันทางด้านราคาสูง การถูกลูกค้าแจ้งข้อมูลเป็น เท็จทำให้เกิดความเสียหาย และปัญหาการดูแลสินค้า ที่ลูกค้าออนไลน์ไม่เข้าใจอีกด้วย วิธีการเพิ่มกำไรสามารถทำได้ โดยทำให้ จุดคุ้มทุนลดลง ซึ่งการทำให้จุดคุ้มทุนลดลงนั้นหมายถึง การที่ชุมชนจะ สามารถผลิตเพื่อขายใช้ทุนน้อยลงและเหลือกำไรมากขึ้น ทั้งนี้การลดจุดคุ้มทุนหากพิจารณาตามสูตร Q* = F/(P-V) พบว่า ต้องดำเนินการดังนี้   1) ลดต้นทุนคงที่   2) เพิ่มราคาขาย และ    3) ลดต้นทุนผันแปร

หากพิจารณาที่ต้นทุนคงที่ ชาวบ้านก็แทบจะใช้แรงงานตนเองส่วนใหญ่ในการดำเนินการ  จึงต้องเล็งเห็นช่องทางด้านการตลาดใหม่ที่สามารถ นำ ไปสู่การเพิ่มราคาขายได้เพื่อส่งผลให้จุดคุ้มทุนมีค่าน้อยลง การขายผ่านช่องทางร้านค้าปลีกใน  ระบบขายสินค้าออนไลน์   โดยปกติ เมื่อทำการขายปลีกจะต้องมีการทำให้ สินค้า มี ความต่างจากการขายโดยทั่วไปดังนี้

1)        ต้องเลือกที่มีน้ำหนักเบา (ค่าขนส่งจะได้ราคาต่ำ) ผลิตด้วยความประณีต (เพิ่มราคารับซื้อให้อีก)

2)        บรรจุภัณฑ์ ต้องแพ็คอย่างแข็งแรง ใช้วัตถุดิบการบรรจุที่ดี มีคุณภาพ เพื่อส่งมอบแก่ลูกค้า

3)        ต้องมีทีมงาน ตอบรับ สินค้าได้ตลอดเวลา และรวดเร็ว (เมื่อมีคำสั่งซื้อ)

หากท่านใดสนใจ ช่วยส่งเสริมสนับสนุนสินค้า  ผลิตโดยชุมชน  เสื่อระแนงไม้ไผ่  เฝือกไม้ไผ่ บ้านสามัคคีธรรม  อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี  สามารถสั่งซื้อสินค้าผ่าน Application  จำหน่ายสินค้าออนไลน์  หรือหาก ชุมชนหรือหน่วยงานใด ต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่  ผศ. ดร.พรปวีณ์ วรเศรษฐ์พงศา อาจารย์ประจำสาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยมหิดล  วิทยาเขตกาญจนบุรี  034 585058

​​​​​​​









Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.