"ชลบุรี" พบผู้ติดเชื้อโควิดวันที่ 4 มิ.ย.65 เพิ่มอีก 93 ราย
4 มิ.ย. 2565, 08:42
ล่าสุด (4 มิ.ย.65) ทางด้านเพจเฟซบุ๊ก "สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี สสจ.ชลบุรี" รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิดในพื้นที่ โดยข้อมูลสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี (สสจ.ชลบุรี) ณ เวลา 06.30 น.วันที่ 4 มิถุนายน 2565 ระบุว่า วันนี้มีรายงานผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ จำนวน 93 ราย
วันนี้มีรายงานผู้ติดเชื้อโควิด-19 ยืนยันรายใหม่ RT-PCR จำนวน 93 ราย ผู้เข้าข่ายติดเชื้อโควิด-19 ATK 956 ราย
ณ วันที่ 4 มิถุนายน 2565 จังหวัดชลบุรี มีผู้ฉีดวัคซีนครบ 3 เข็ม 1,039,910 คน ซึ่งในเดือนนี้ มีผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ 3 เข็มแล้ว ติดเชื้อ 144 คน (อัตราป่วย 13.85 ต่อแสนประชากร) ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต, ไม่มีรายงานผู้ป่วยใส่ท่อหายใจ, ไม่มีรายงานผู้ป่วยปอดอักเสบ
มีผู้ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็ม 1,981,893 คน ซึ่งในเดือนนี้ มีผู้ที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว ติดเชื้อ 91 คน (อัตราป่วย 4.59 ต่อแสนประชากร) ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต, ไม่มีรายงานผู้ป่วยใส่ท่อหายใจ, ไม่มีรายงานผู้ป่วยปอดอักเสบ
ส่วนผู้ที่ฉีดวัคซีนเพียง 1 เข็ม 104,267 คน และไม่ได้ฉีดวัคซีนอีก 242,913 คน รวม 347,180 คน ในเดือนนี้พบผู้ติดเชื้อที่ฉีดวัคซีนไม่ครบและยังไม่ได้ฉีดวัคซีน 121 คน (อัตราป่วย 34.85 ต่อแสนประชากร) ผู้ป่วยเสียชีวิต 1 ราย (0.29 ต่อแสนประชากร), ผู้ป่วยใส่ท่อหายใจ 3 ราย (0.86 ต่อแสนประชากร), ผู้ป่วยปอดอักเสบ 2 ราย (0.58 ต่อแสนประชากร)
วันนี้พบผู้ป่วยใส่ท่อหายใจรายใหม่ 2 ราย (ไม่พบประวัติการรับวัคซีนทั้งสองราย)
ผู้ป่วยปอดอักเสบรายใหม่ 1 ราย (ไม่พบประวัติการรับวัคซีน)
ผู้เสียชีวิตรายใหม่ 1 ราย (อายุ 86 ปี) สาเหตุที่นำไปสู่การเสียชีวิตคือ เป็นผู้สูงอายุ และมีโรคประจำตัวได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง (พบประวัติการรับวัคซีนหนึ่งเข็มเมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2565)
ดังนั้น การฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์ โดยเฉพาะเข็มที่สาม ซึ่งเป็นเข็มกระตุ้นที่ผู้ทีอาศัยในจังหวัดชลบุรียังไม่ได้รับการฉีดจำนวนมาก การรับวัคซีนเข็มกระตุ้นจะช่วยลดความรุนแรงของโควิด-19 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว ที่อาศัยในจังหวัดชลบุรีที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนหรือได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ยังมีอัตราอาการรุนแรงและเสียชีวิตมากมาโดยตลอด ขอความร่วมมือให้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นครบตามเกณฑ์
ขณะนี้มีการระบาดเป็นวงกว้างทั้งจังหวัดชลบุรี
ร้านอาหารจำหน่ายสแอลกอฮอล์ ต้องคัดกรองลูกค้าด้วย ATK ทุกคน
ขณะนี้เริ่มมีการระบาดในสถานประกอบการจำนวนมาก พนักงานต้องได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์และเคร่งครัดในมาตรการองค์กร
1. เลิกงานไม่สังสรรค์
2. อาหารต้องไม่ทานใกล้ชิดด้วย
3. ป่วยต้องหยุด
4. จุดสัมผัสร่วม ต้องทำความสะอาดบ่อยๆ เช่น ลูกบิด ราวบันได สแกนนิ้วมือ เซ็นชื่อแล้วต้องล้างมือทันที
5. เคร่งครัดในสุขอนามัยส่วนบุคคล ใส่แมสก์ตลอดเวลา ล้างมือบ่อยๆ อยู่ห่างๆกัน
สำหรับผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ต้องมีสังเกตุอาการ ระมัดระวังไม่ให้แพร่เชื้อ
การควบคุมป้องกันการระบาดของโควิด-19 ในจังหวัดชลบุรี อยู่บนพื้นฐานของสมดุลระหว่าง การควบคุมโรค เศรษฐกิจ สังคม
ปัจจัยความเร็วในการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขึ้นกับการเคลื่อนที่นอกบ้านของประชาชน ความใกล้ชิดกัน รวมทั้งระยะเวลาในการใกล้ขิดกัน นอกเหนือจากการไม่เคร่งครัดในสุขอนามัยส่วนบุคคล หากไม่ล้างมือก่อนจับหน้า เชื้อเข้าทางจมูก ปากตา ทำให้มีการติดเชื้อและแพร่ระบาดได้
ในสภาวะการณ์ที่โควิด-19 มีการระบาดในวงกว้าง จนอาจกลายเป็นโรคประจำถิ่น เชื้อไม่ได้หมดสิ่นไป ทำให้มีโอกาสในการติดเชื้อได้ แต่ต้องไม่ให้เกิดการระบาดจนระบบสาธารณสุขรองไม่ได้ และต้องไม่เสียชีวิต ดังนั้นจึงขอความร่วมมือทุกภาคส่วนปฏิบัติตามมาตรการควบคุมโรคของจังหวัดชลบุรี
วัคซีนเป็นหลัก รู้จักป้องกัน แยกกักโควิด เข้าสู่โรคประจำถิ่น
1. วัคซีนเป็นหลัก วัคซีนมีความสำคัญมากในการเข้าสู่ภาวะการดำเนินชีวิตที่อยู่ร่วมกับโควิด-19 วัคซีนลดความรุนแรงของโควิด-19 ได้ ผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้ว ยังคงสามารถติดเชื้อโควิด-19 ได้ ยังคงต้องมีสุขอนามมัยส่วนบุคคล ขอความร่วมมือทุกท่านในการฉีดวัคซีน เพื่อลดความเร็วในการระบาด และลดความรุนแรงของโควิด-19 โดยเฉพาะผู้สูงอายุและผู้ที่มีโรคประตำตัว ขณะนี้ยังคงมีผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัว และเป็นผู้ที่ไม่ฉีดวัคซีน
2. รู้จักป้องกัน ทุกคนป้องกันตัวเองตามมาตรการ univeral protection ยังคงเคร่งครัดในสุขอนามัยส่วนบุคคล โดยเฉพาะช่วงที่กำลังมีการระบาดในวงกว้าง เพื่อชลอการระบาดไม่ให้รวดเร็วเกินไป
3. แยกกักโควิด ผู้ติดเชื้อโควิด-19 สามารถแยกกักที่บ้านได้หากไม่มีอาการและไม่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุหรือมีโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อความรุนแรงมากกว่ากลุ่มอื่นๆ ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงควรสังเกตุอาการ ไม่อยู่ในที่ชุมนุมชน
4. เข้าสู่โรคประจำถิ่น เชื้อโควิด-19 ได้ลดความรุนแรงลง และเข้าเป็นโรคประจำถิ่น ในที่สุด คัดกรอง ATK เฉพาะผู้ที่มีอาการ หรือเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อความรุนแรง หรือเป็นบุคลากรที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาด