เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



"เลขาฯกสม." ชี้แอบถ่ายรูปสาวบนรถไฟฟ้า เข้าข่ายการละเมิดสิทธิมนุษยชน


13 ก.ย. 2562, 18:40



"เลขาฯกสม." ชี้แอบถ่ายรูปสาวบนรถไฟฟ้า เข้าข่ายการละเมิดสิทธิมนุษยชน




   วันที่ 13 ก.ย. 2562 ผู้สื่อข่าว ONBnews รายงานว่าจากกรณีที่เจ้าของบัญชีเฟซบุ๊กชื่อ Samon Spai Sukdiwong โพสต์รูป 6-7 ภาพและข้อความเมื่อ 11 ก.ย. ที่ผ่านมาว่า...

"เธอคือใครอะไรของมึง! ต้องมึงเป็นใคร? ขออนุญาตกลับสู่ความเป็นสุภาพชน คุณไม่มีสิทธิที่จะละเมิดสิทธิของผู้อื่นและนี้คือการเข้าคายคุกคามทางเพศอีกด้วย เรายังไม่ทราบถึงเจตนาที่แท้จริงของกลุ่มหรือเพจนี้ แต่ที่แน่ๆไม่ใช่เจตนาที่ดีแน่นอน ผู้หญิงในรูปคนแรกเป็นเพื่อนเราเอง หากท่านใดถูกกระทำจากเหตุการณ์นี้อยากให้รวมตัวกันเพื่อฟ้อง ทักมาได้เลยนะคะ"

 

 

 

 

จากนั้นเพจดัง "Drama-addict "ได้นำมารายงานโพสต์ขยายความต่อว่า...

"มันมีเพจๆนึง แอดมินมันเอาภาพสาวๆที่ถูกแอบถ่ายตามรถไฟฟ้า หรือสนามบิน มาลงในเพจ ตอนนี้เห็นสาวๆหลายคนรู้ตัวว่า ถูกเพจนั้นแอบถ่ายภาพไปเผยแพร่ และกำลังรวมตัวกันแจ้งความดำเนินคดีแล้ว  ล่าสุดเพจนั้นปิดตัวไปละ

ใครที่รู้ตัวว่าเป็นหนึ่งในคนที่ถูกเพจนั้นถ่ายภาพไปเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต ให้ติดต่อที่ Samon Spai Sukdiwong เพื่อรวมตัวกันแจ้ง ตร.ครับ

ทนายตัวแสบ:Badass Attorney เฮ้ยสอบถามหน่อย แบบนี้ ทางผู้เสียหายเขาจะแจ้งมาตราไหนนะ"

 

 



กรณีดังกล่าวผู้สื่อข่าวได้สอบถามนายโสพล จริงจิตร เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้กล่าวในเรื่องนี้ว่า

การกระทำในลักษณะดังกล่าวอาจเข้าข่ายละเมิดความเป็นส่วนตัวอันเป็นสิทธิส่วนบุคคลและข้อมูลส่วนบุคคล ที่บัญญัติรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มาตรา ๓๒ ความว่า

”บุคคลย่อมมีสิทธิในความเป็นอยู่ส่วนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และครอบครัว

การกระทําอันเป็นการละเมิดหรือกระทบต่อสิทธิของบุคคลตามวรรคหนึ่ง หรือการนําข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ประโยชน์ไม่ว่าในทางใด ๆ จะกระทํามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ที่ตราขึ้นเพียงเท่าที่จําเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ”

ซึ่งการละเมิดสิทธิของบุคคลในลักษณะดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระทำที่ส่งผลให้อัตลักษณ์ทางร่างกายอันเป็นข้อมูลส่วนบุคคลถูกเผยแพร่โดยไม่ได้รับความยินยอม

ส่วนผู้กระทำละเมิดต้องรับผิดอย่างไรบ้างก็ต้องไปพิจารณาข้อกฎหมายประกอบกับข้อเท็จจริงของการกระทำ เช่น ถ้าการโพสต์ภาพพร้อมข้อความที่ทำให้มีการดูหมิ่นถิ่นแคลน กระทบต่อเกียรติยศชื่อเสียงก็เป็นการหมิ่นประมาทซึ่งนอกจากต้องรับผิดทางอาญาแล้วอาจต้องรับผิดชดใช้ทางแพ่งด้วย โดยโทษจะหนักขึ้นหากเข้าข่ายเป็นการนำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์


 


สรุปการละเมิดความเป็นส่วนตัวหรือการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลที่ผู้กระทำละเมิดต้องรับผิดคือ การทำให้ผู้อื่นเกิดความเสียหาย เสียชื่อเสียง ได้รับผลกระทบจากการกระทำนั้น ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการกระทำโดยเจตนา จงใจ หรือประมาทเลินเล่อก็ตาม

 

 

แต่ไม่ว่าการละเมิดดังกล่าวจะร้ายแรงกระทั่งผู้ทำละเมิดต้องรับผิดตามกฎหมายหรือไม่ แต่การกระทำดังกล่าวก็เข้าข่ายการละเมิดสิทธิมนุษยชน เพราะเป็นการกระทำที่ไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ถูกกระทำ และบางการกระทำเข้าข่ายละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของผู้ถูกกระทำ

นานาอารยะประเทศหรือบุคคลทั่วไปต่างไม่อาจยอมรับการกระทำเช่นว่านั้น ซึ่งปรากฎในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 12 อันเป็นมาตรฐานสิทธิมนุษยชนที่ยอมรับกันเป็นสากล ความว่า

”บุคคลใด ๆ จะถูกแทรกแซงโดยพลการในชีวิตส่วนตัว ครอบครัว ในเคหสถานหรือในการสื่อสาร หรือจะถูกลบหลู่ในเกียรติยศและชื่อเสียงมิได้ ทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายต่อการแทรกแซงหรือการลบหลู่ดังกล่าวนั้น

 






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.