เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



"ราชบุรี" เปิดโครงการอนุรักษ์วิถีวัฒนธรรมชาวไทย-รามัญ 2562


8 ก.ย. 2562, 11:43



"ราชบุรี" เปิดโครงการอนุรักษ์วิถีวัฒนธรรมชาวไทย-รามัญ 2562




วันที่ 7 ก.ย. 62 ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า ที่อาคารอเนกประสงค์ ม.3 ต.คลองตาคต อ.โพธาราม จ.ราชบุรี นายนพรัตน์ รัตนพานิช นายอำเภอโพธาราม เป็นประธานเปิดโครงการอนุรักษ์วิถีวัฒนธรรมชาวไทย-รามัญ ต.คลองตาคต ประจำปี 2562 โดยมีนายประทีป มีพรบูชา นายกเทศมนตรีตำบลคลองตาคต เป็นผู้กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงานดังกล่าว โดยมีประชาชนชาวไทย-รามัญ ตำบลคลองตาคต และตำบลใกล้เคียงพร้อมใจกันแต่งชุดประจำถิ่นหรือชุดมอญเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก

 

 



คนรามัญหรือที่รู้จักในชื่อของ ชาวมอญนั้น ในพื้นที่ตำบลคลองตาคต ถือเป็นอีกตำบลหนึ่งที่มีสังคมรากเหง้าของชาวไทยเชื้อสายมอญ โดยกลุ่มชาวมอญที่มาตั้้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัยนั้น สืบเนื่องมาจากทำเลที่ตั้งมีความเหมาะสมด้านการคมนาคม ขนส่ง และสภาพพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร ต่อมาจึงมีการขยายตัวของชุมชนจนกลายเป็นชุมชนที่มีขนาดใหม่เพิ่มมากขึ้น โดยจากหลักฐานทางเอกสารวัตถุและบุคคล ได้แสดงและพิสูจน์ให้ทราบว่าชุมชนมอญนั้นมีความเป็นชุมชนที่เป็นปึกแผ่น เหนียวแน่นในความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันของผู้คนในชุมชนเป็นอย่างมาก โครงการอนุรักษ์วัฒนธรรมชาวไทย-รามัญที่ได้จัดขึ้นในวันนี้ เกิดขึ้นจากเทศบาลตำบลคลองตาคต ร่วมกับสภาวัฒนธรรมตำบล, วัดและโรงเรียนคงคาราม ตลอดจนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประธานชุมชน และประชาชนตำบลคลองตาคต ได้ร่วมแรงร่วมใจกันจัดงานขึ้น เพื่อส่งเสริมกิจการด้านพุทธศาสนาและอนุรักษ์วัฒนธรรมชุมชน ส่งเสริมระบบความสัมพันธ์และระบบสังคมให้เข้มแข็ง และเพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้และการขัดเกลาทางวัฒนธรรม ตลอดจนส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนในพื้นที่ได้เห็นคุณค่า มีวามรัก และหวงแหน ร่วมกันอนุรักษ์ฟื้นฟูสืบทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นสืบไป


นายนพรัตน์ รัตนพานิช นายอำเภอโพธาราม ได้กล่าวก่อนเปิดโครงการอนุรักษ์วิถีวัฒนธรรมชาวไทย-รามัญ ว่า สำหรับตำบลคลองตาคตนั้นถือได้ว่าเป็นอีกตำบลหนึ่งที่มีระบบขับเคลื่อนวิถีวัฒนธรรมชาวไทย-รามัญที่โดดเด่นไม่ว่าจะเป็นวัดคงคารามวัดมอญที่จัดตั้งขึ้นมาอย่างยาวนาน และยังคงสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมของชาวมอญมาจนทุกวันนี้ วิถีการดำรงชีวิตของชาวบ้านที่ยังยึดถือรูปแบบที่มีมาแต่สมัยอดีตถ่ายทอดผ่านมายังรุ่นลูกรุ่นหลาน เพื่อให้วัฒนธรรมต่างๆเหล่านั้นไม่สูญหายไป






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.