เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



กรมการแพทย์ เผยเตียงผู้ป่วยสีแดงรับได้อีก 20 เตียง - ปัญหาสำคัญขาดบุคลากรแพทย์


23 มิ.ย. 2564, 13:18



กรมการแพทย์ เผยเตียงผู้ป่วยสีแดงรับได้อีก 20 เตียง - ปัญหาสำคัญขาดบุคลากรแพทย์




วันนี้ (23 มิ.ย.64) นพ. สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เผยถึงสถานการณ์เตียงผู้ป่วยในโรงพยาบาลรัฐ ทุกระดับสี ในพื้นที่ กทม. ทุกแห่งศักยภาพในการรรับเกือบเต็มที่จะรับผู้ป่วยแล้วรายใหม่แล้วโดยเฉพาะเตียงผู้ป่วยสีแดง ในกทม. เหลือประมาณ20 เตียง จากเดิมที่เคยคาดการณ์ว่า การระบาดระลอกเดือนเมษายนจะมีเตียงรองรับผู้ป่วย ได้วันละ 400-500 คน ซึ่งขณะนั้น แต่ละโรงพยาบาลได้เบ่งเตียงไอซียู ในทุกสังกัดเพิ่มขึ้น รวมถึงการแบ่งโซน6พื้นที่ในกทม. เพื่อดูแลผู้ป่วย และบริหารจัดการเตียงร่วมกัน 

แต่เนื่องจากในช่วง2เดือนที่ผ่านมา จำนวนผู้ติดเชื้อใน กทม. ยังคงเพิ่มขึ้นทุกวันมากกว่าพันคนในอตาละวัน  ทำให้สถานการณ์เตียงที่จะรองรับผู้ป่วยในทุกระดับสี เกือบวิกฤต ขณะเดียว แนวโน้มกลุ่ม ผู้ป่วยสีเหลือง อาการหนักขึ้น กลายเปลี่ยนเป็นสีแดงเพิ่มขึ้นด้วย จึงส่งผลให้อัตราครองเตียงสีแดงเพิ่มขึ้นตามไปด้วย รวมถึงเตียงในผู้ป่วยสีเขียว

 



ในส่วนของโรงพยาบาลเอกชนประมาณ100-200 แห่ง ในพื้นที่กทม. แม้จะมีห้องไอซียูรองรับได้ 1-2 เตียง แต่ปัญหาสำคัญ คือ ขาดบุคลกรทางการแพทย์ ในการดูแล เนื่องจากบุคลกรเหล่านี้ก็มาจากโรงพบาบาลรัฐที่ทำงานนอกเวลา ขณะเดียวกันบุคลกรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข รพ.รัฐทุกแห่งตอนนี้ ได้ทำงานเกินกำลังในการดูแลผู้ป่วยทุกคนอยู่แล้ว 

ส่วนการแก้ปัญหา ขณะนี้ ทางกระทรวงสาธารณสุข และทุกฝ่าย พยายามแก้ปัญหาทุกวิถีทาง ทั่งการแบ่งโซนดูแลผู้ป่วยแต่ละพื้นที่  โดยหลักตอนนี้ คือ ทำอย่างไรให้ลดจำนวนผู้ป่วยอาการรุนแรง ลงให้ได้มากที่สุด 

ล่าสุด  เมื่อ 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ร่วม กับ กทม. ออกแนวทาง  cummunity isolation คือ การอยกตัวออกจากชุมชนทันที  และทำ  บับเบิลแอนด์ซิลไว้  ขณะเดียวกันตอนนี้ มีการติดเชื้อในผู้สูงอายุมากขึ้น เบื้องต้นได้มีการหารือ กทม. จัดทำแนวทาง Nursing home isolation  กรณีหากผู้ดูแลและผู้สูงอายุติดเชื้อ แต่อาการไม่มาก ให้ช่วยดูแลผู้สูงอายุระหว่างรอเตียง ขณะเดียวกันจะมีแพทย์ในพื้นที่คอยให้คำปรึกษา เพื่อผ่อนคลายระหว่างการจัดสรรเตียง

 


ขณะนี้ ผู้เสียชีวิตรายวัน เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่วนใหญ่ ร้อยละ80-90 มีโรคร่วม เบาหวาน ความดัน อ้วน และตอนนี้พบผู้สูงอายุติดเตียงมากขึ้น ได้หารือ กับ กทม. เร่งฉีดวัคซีนในกลุ่มผู้ป่วยติดเตียงมากขึ่น เพื่อลดป่วย ลดเสียชีวิต 

ทั้งนี้ การพบผู้เสียชีวิตที่มากขึ้นไม่ได้มาจากระบบการรักษาที่ด้อยประสิทธิภาพ  แต่เป็นตัวเลขผู้ติดเชื้อที่เพิ่มมากขึ้นและสะสมมา และยืนยันว่ายาฟาวิพาราเวียร์ ยังเป็นยาหลัก และมีเพียงพอ ซึ่งขณะนี้ปรับให้ยาเร็วขึ้น เช่น ผู้ติดเชื้อมีอาการเล็กน้อยแต่มีโรคร่วมก็ให้ยาทันที ขณะเดียวกันได้เพิ่มแนวทางการให้ นำยาฟ้าทะลายโจร มารักษาผู้ป่วยโควิดที่ไม่มีอาการและย้ำถึงประชนล็อคดาวน์ตัวเอง และเคร่งครัดมาตรการทางสังคม แม้การรับประทานอาหารกับคนรู้จักหรือคนในครอบครัว  ก็ควรเว้นระยะห่าง เพราะขณะนี้ เราไม่รู้เลยว่า คนรอบข้าง หรือคนที่เราไปเจอ มีใครติดเชื้อบ้าง






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.