เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



มท.2 เปิดโครงการเสริมสร้างประสิทธิภาพลดอุบัติเหตุระดับพื้นที่


22 มิ.ย. 2564, 16:31



มท.2 เปิดโครงการเสริมสร้างประสิทธิภาพลดอุบัติเหตุระดับพื้นที่




วันที่ 21 มิ.ย. 2564  ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) นายนิพนธ์ บุญญามณี  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย  เป็นประธานเปิดโครงการบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในระดับพื้นที่ รุ่นที่ 1 (14 จังหวัด ภาคใต้) เพื่อมอบนโยบายและแนวทางการดำเนินงานด้านการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน โดยมี นายเชษฐา โมสิกรัตน์ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ผู้ว่าราชการจังหวัด นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด  ผู้แทนเทศบาล ผู้แทนองค์การบริหารส่วนตำบลจาก 14 จังหวัดภาคใต้ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมในพิธีเปิดโครงการฯ  
    
นายนิพนธ์ กล่าวว่า อุบัติเหตุทางถนนเป็นปัญหาสำคัญที่ก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนเป็นจำนวนมาก โดยจากรายงานขององค์การอนามัยโลกพบว่า ในปี 2561 มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนทั่วโลกประมาณ 1.35 ล้านราย เฉลี่ยวันละ 3,700 คนต่อวัน สำหรับประเทศไทย จากข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนจากข้อมูล 3 ฐาน ซึ่งเป็นข้อมูลจากการบูรณาการระหว่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด และกรมควบคุมโรค พบว่า ผู้เสียชีวิตมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2563 มีผู้เสียชีวิต 17,831 คน เฉลี่ยวันละ 49 คน โดยสาเหตุหลักเกิดจากการขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด และเกิดบนถนนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นส่วนใหญ่ เมื่อคำนวณมูลค่าความสูญเสียประเทศไทยเสียหายจากอุบัติเหตุทางถนนประมาณ 178,310,000,000 บาท  ทั้งนี้ รัฐบาลโดยศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ได้นำกรอบแนวทางการดำเนินงานภายใต้กรอบการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDG) ปฏิญญาสตอกโฮล์ม และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์มาขับเคลื่อนการดำเนินงาน โดยมีเป้าหมายลดอัตราการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน ให้เหลือ 12 คน ต่อประชากรแสนคนภายในปี 2570  ซึ่งหากบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้จำนวนผู้เสียชีวิตจะเหลืออยู่ประมาณ 7,940 คน และในปี พ.ศ. 2565 ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ได้กำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตให้เหลือ 12 คนต่อประชากรแสนคน ภายในอีก 6 ปีข้างหน้า โดยให้ความสำคัญกับกลไกในการขับเคลื่อนศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) ทุกระดับ ทั้งระดับจังหวัด อำเภอ และท้องถิ่น โดยให้บูรณาการร่วมกับ อปท. และประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้สามารถลดความสูญเสีย และผลกระทบที่เกิดจากอุบัติเหตุทางถนนได้อย่างแท้จริง









Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.