เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



มท.2 ปาฐกถาพิเศษ ย้ำ อปท.-ส่วนราชการดูแลผู้ป่วยเข้าถึงการแพทย์ฉุกเฉินทั่วถึง


18 มี.ค. 2564, 14:34



มท.2 ปาฐกถาพิเศษ  ย้ำ อปท.-ส่วนราชการดูแลผู้ป่วยเข้าถึงการแพทย์ฉุกเฉินทั่วถึง




วันนี้ ( 18 มี.ค.64 )  ที่โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพฯ นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานเปิดการประชุมการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พร้อมปาถกฐาพิเศษ เรื่อง “นโยบายการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” โดย มี ร.อ.นพ.อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ  ดร.นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ พร้อมนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ผู้บริหารจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่เข้าร่วมประชุมจำนวนมาก

นายนิพนธ์ กล่าวตอนหนึ่งว่า"การจัดสัมมนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้เกิดการบูรณาการสอดประสานการบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉินให้มีประสิทธิภาพ เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงบริการของประชาชน ซึ่งสำคัญต่อประชาชนที่บาดเจ็บ หรือป่วยฉุกเฉิน โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นหน่วยงานที่มีความใกล้ชิดกับประชาชน มีความสำคัญและจำเป็นอย่างมากต่อการพัฒนาระบบ เนื่องจากมีทั้งทรัพยากรบุคคล และองค์ความรู้  ที่สำคัญคือฐานข้อมูลความต้องการของประชาชนในพื้นที่ อัตราการเกิดเหตุ ลดอัตราการสูญเสียจึงถือเป็นเรื่องที่ดีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องให้ความสำคัญ ยกระดับในการปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการคุ้มครองในการเข้าถึงระบบการแพทย์ฉุกเฉินอย่างทั่วถึง เท่าเทียม มีคุณภาพ และได้รับการรักษาพยาบาลทันต่อสถานการณ์จะเป็นการลดอัตราการสูญเสียให้ได้มากที่สุด พร้อมกันนี้ยังขอความร่วมมือ อบจ. จัดตั้งศูนย์สั่งการการแพทย์ฉุกเฉินระดับจังหวัดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและยกระดับมาตรฐานการแพทย์ฉุกเฉิน"



“การแพทย์ฉุกเฉินถือว่าเป็นอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตาม พ.ร.บ.จัดตั้ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 และ พ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.2551 ซึ่งมีแนวทางการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินที่กำหนดให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ในการจัดให้มีโรงพยาบาลจังหวัดการรักษาพยาบาลการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบการแพทย์ฉุกเฉินในระดับท้องถิ่น ดังนั้น การทำงานแบบบูรณาการร่วมกันจากทุกภาคส่วนจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการแพทย์ฉุกเฉินไทย” นายนิพนธ์ กล่าว







Recommend News





MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.