เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



"ผู้ว่าฯ สมุทรสาคร" อาการดีขึ้น เผยยังมีความหวัง อาจไม่ถึงขั้นเปลี่ยนปอด


29 ม.ค. 2564, 14:56



"ผู้ว่าฯ สมุทรสาคร" อาการดีขึ้น เผยยังมีความหวัง อาจไม่ถึงขั้นเปลี่ยนปอด




เมื่อวันที่ 29 ม.ค. 64 รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล อัพเดทอาการล่าสุดของ นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี ผู้ว่าสมุทรสาคร หลังป่วยติดเชื้อโควิด-19

โดย รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า สถานการณ์โดยรวมของพ่อเมืองสาครวันนี้ มีการกระเตื้องขึ้นของระบบการหายใจขึ้นเล็กน้อย คนที่คอยลุ้นยังคงมีความหวังกันได้ต่อไป

 



เมื่อคืนก่อนเข้านอน ได้โทรศัพท์ไปสอบถามแพทย์ที่อยู่เวรถึงอาการคนไข้โควิดวิกฤติในความดูแลทั้ง 4 รายทุกรายยังอาการคงที่ดี สำหรับรายท่านพ่อเมืองสาคร แม้ยังจะต้องใช้ยาระงับความรู้สึกค่อนข้างมากเพื่อช่วยการหายใจให้เป็นไปโดยราบรื่น แต่เริ่มมีสัญญาณบ่งชี้ว่าการแลกเปลี่ยนก๊าซของปอดกระเตื้องขึ้นพร้อมกับรอยฝ้าจากเอกซเรย์ปอดที่ลดลง

ส่วนการทำงานของอวัยวะต่างๆ ยังเป็นไปได้ด้วยดี เช้านี้ตื่นเร็วกว่าปกติเพราะฝันตอนหัวรุ่งมีการผูกโยงไปถึงอาการท่านผู้ว่าด้วย แต่จำรายละเอียดไม่ได้แน่ชัด หวังว่าสิ่งที่จะเกิดจริงต่อไปสำหรับท่านจะเป็นไปในทางที่เป็นคุณ โดยเฉพาะการที่คณะแพทย์ให้ยาที่จะช่วยซ่อมแซมปอดส่วนที่สึกหรอไปจากเชื้อโควิดให้กลับคืนมาบางส่วนหรือถ้ามากส่วนก็จะยิ่งดี

“ขณะนี้ให้ยาไปแล้ว 3 วัน วันนี้เข้าสู่วันที่ 4 จากการประเมินการทำงานของปอด โดยจากดูระดับออกซิเจนในเลือด พบว่าทำงานปอดดีขึ้น มีการดูดซึมออกซิเจนเข้ากระแสเลือด และมีระดับที่เพียงพอ เนื่องจากที่ผ่านมาให้เครื่องช่วยหายใจทำงานเต็มที่” ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวและว่า ขณะนี้เมื่อระดับการออกซิเจนในเลือดดี ก็จะค่อยๆ ถอยระดับออกซิเจนลดลง เล็กน้อย เพื่อดูการฟื้นตัวของปอด ส่วนการให้ยาต่างๆ มีการลดระดับยาลงตั้งแต่วันพุธ (27 มกราคม) จากนั้นก็ให้ระดับยาคงที่ต่อเนื่อง คาดว่าไม่เกิน 1-2 วันนี้ จะสามารถย้ายผู้ป่วยออกจากให้ห้องความดันลบ เพื่อไปรักษาในห้องอาร์ซียูวิกฤตบำบัดทางเดินหายใจ ซึ่งจะมีผลให้ครอบครัวผู้ว่าฯ ทั้งภรรยา และบุตรสาวเข้าเยี่ยมได้ แต่ยังห้ามบุคคลภายนอกเข้าเยี่ยม

 


สำหรับเรื่องการผ่าตัดเปลี่ยนปอดยังไม่อยู่ในแผนการขณะนี้ ดังนั้นผู้ที่ออกข่าวว่าจะบริจาคปอดให้ท่านผู้ว่าคงไม่มีความจำเป็น ที่สำคัญปอดของมนุษย์ไม่สามารถตัดข้างหนึ่งบริจาคให้คนอื่นได้เหมือนการเปลี่ยนไต

หากจำกันได้ที่กล่าวถึงผู้ป่วยหนักจากโควิดอีกรายหนึ่งที่ต้องใช้เครื่องปอดและหัวใจเทียมมาระยะหนึ่งแล้ว ยังไม่มีทีท่าว่าปอดจะฟื้นตัว แถมมีภาวะแทรกซ้อนจากไตวายเฉียบพลันและระบบการแข็งตัวของเลือดล้มเหลวมาทำให้ทรุดลงไปอีก

หลังจากพยายามทุ่มเทแก้ไขในทุกวิถีทาง สุดท้ายคณะแพทย์และญาติของผู้ป่วยจึงได้ข้อสรุปร่วมกันที่จะยุติการรักษาที่เป็นเพียงการยื้อยุดชีวิต เพื่อไม่ให้เกิดการทุกข์ทรมานและสิ้นเปลืองทรัพยากรสุขภาพโดยไม่จำเป็น สิ่งที่มนุษย์ทุกผู้ทุกนามเสมอภาคกันหาเหลื่อมล้ำไม่ คือ การเกิด แก่ เจ็บป่วย และ วาระสุดท้ายคือ การตาย






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.