"ผู้ว่าฯชุมพร" ร่วมกิจกรรมน้อมรำลึก เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีนคริทราบรมราชชนนี
21 ต.ค. 2563, 14:40
วันที่ 21 ต.ค. 63 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายธีระ อนันตเสรีวิทยา ผวจ.ชุมพร เป็นประธานในงานกิจกรรมน้อมรำลึก เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระศรีนคริทราบรมราชชนนี เพื่อเป็นการน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัฐบาลกำหนดจัดกิจกรรมทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและต่างประเทศ ระหว่างวันที่ 21 ต.ค. - 1 พ.ย. 63 .
ภายหลังพระคุณเจ้าให้ศีล แล้ว นายธีระ ได้นำบรรดาผู้ร่วมงงาน ร่วมทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ ต่อจากนั้นมีพิธีวางพานพุ่มหน้าพระราชานุสาวรีย์ โดยมี ผู้พิพากษาหัวหน้าศาล จังหวัดหลังสวน อัยการ ผ็บังคับการ ตร. ภ.จว.ชุมพร ทหาร เหล่ากาชาด และ ส่วนราชการต่างๆ นากจากนั้นยังได้มีการจัดนิทรรศการในบริเวณที่จัดกิจกรรมด้วย สำหรับสวนสมเด็จย่า ที่ อ.หลังสวน จ.ชุมพร เป็น1 ใน 12 สวนสมเด็จย่า ทั่วประเทศ มีการตบแต่งสวยงาม ร่สมรื่น เพื่อการพักผ่อนของประชาชน
สำหรับนิทรรศการได้นำเสนอ นับตั้งแต่ปีแรกที่ประสูติ จนกระทั่งสวรรคต และพระราชปณิธานที่มีผู้สานต่อผ่านมูลนิธิหรือองค์กรต่างๆ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ดังนี้ ช่วงที่ 1 พ.ศ. 2443-2460 ชีวิตในวัยเยาว์ เรียนรู้ เติบโตในชุมชนเล็กๆ ใกล้วัดอนงคาราม ได้เป็นข้าหลวงในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ (กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร) กระทั่งได้ร่ำเรียนในฐานะนักเรียนพยาบาล โรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์และหญิงพยาบาลแห่งศิริราช และมีโอกาสได้รับทุนการศึกษาวิชาพยาบาล ไปศึกษาต่อ ณ สหรัฐอเมริกา
ช่วงที่ 2 พ.ศ. 2460-2466 ชีวิตของการเป็นนักเรียนทุนในต่างประเทศ ทำให้มีโอกาสเรียนรู้สิ่งใหม่ ตลอดทั้งเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ ศิลปวัฒนธรรม และฝึกทักษะด้านภาษา และจุดเปลี่ยนสำคัญในชีวิตนักเรียนทุนพยาบาล ณ สหรัฐอเมริกา คือการได้พบและอภิเษกสมรสกับสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ และสร้าง “ครอบครัวมหิดล”
ช่วงที่ 3 พ.ศ. 2467-2475 ชีวิตครอบครัวเริ่มได้ไม่นาน ก็ประสบกับความสูญเสีย สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ สิ้นพระชนม์ นับจากนั้น แม้การอภิบาลพระโอรสธิดาจะดำเนินไป ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมและประเทศ แต่เจ้านายเล็กๆ ก็เติบโตอย่างมีสุขอนามัยที่สมบูรณ์ ณ วังสระปทุม
ช่วงที่ 4 พ.ศ. 2476-2514 ช่วงเวลาที่ได้ปฏิบัติพระราชภารกิจยิ่งใหญ่ในการถวายพระอภิบาลและอบรมพระโอรสธิดา และทุกพระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปศึกษาต่อต่างประเทศ นอกจากนั้น สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ทรงใช้เวลาศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ทั้งวิชาปรัชญา ภาษาสันสกฤต และบาลี อย่างจริงจัง ซึ่งนำเสนอผ่านสมุดเลคเชอร์ลายพระหัตถ์ และตำราวิชาต่างๆ ที่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงสนพระราชหฤทัย
ช่วงที่ 5 พ.ศ. 2515-2538 นอกจากพระราชกรณียกิจที่ทรงปฏิบัติด้วยความเมตตากรุณา ส่งไปถึงอาณาประชาราษฎร์ทุกหมู่เหล่าแล้ว ในยามที่ทรงว่างหรือภายหลังการทรงงาน ก็จะทรงพักพระอิริยาบถทรงงานอดิเรกที่โปรด ด้วยทรงตระหนักว่า “เวลาเป็นของมีค่า” ทั้งเรื่องงานปั้น งานปักผ้า งานดอกไม้แห้ง งานวาดรูปบนเครื่องกระเบื้องเซรามิก และความสนพระราชหฤทัยเกี่ยวกับดาราศาสตร์ โปรดให้ตกแต่งเพดานพระตำหนักดอยตุง เป็นภาพสุริยจักรวาล กลุ่มดาวจักรราศี และกลุ่มดาวฤกษ์สำคัญ ซึ่งจำลองมาให้ชมภายในนิทรรศการครั้งนี้ด้วย ตราบจนถึงวาระสุดท้ายของพระชนม์ชีพ เมื่อเสด็จสวรรคต ทรงเป็น “สมเด็จย่า” ที่ชาวไทยเคารพ เทิดทูน ผูกพันมาจนตราบทุกวันนี้