รองอธิบดี ปภ. ร่วมกับศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ จัดการฝึกซ้อมแจ้งเตือนภัยและอพยพประชาชน กรณีคลื่นสึนามิ
25 ส.ค. 2563, 13:35
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่โรงเรียนบ้านน้ำเค็ม หมู่ที่ 2 ต.บางม่วง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา นายเชษฐา โมสิกรัตน์ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นประธานจัดการฝึกซ้อมแจ้งเตือนภัยและอพยพประชาชน กรณีคลื่นสึนามิ โดยมีนายสายัน กิจมะโน หัวหน้า ปภ.พังงา นายสมศักดิ์ ชูแสง ปลัดอำเภอหัวหน้ากลุ่มบริหารงานปกครอง นายวิรัตน์ ชัยศิริ ปลัดอำเภอฝ่ายความมั่นคง อ.ตะกั่วป่า นายมนัสศักดิ์ ยวนแก้ว ผู้ใหญ่บ้าน ม.2 บ้านน้ำเค็ม นายธงชัย หันช่อ นายก อบต.บางม่วง จัดการฝึกซ้อมการแจ้งเตือนภัยและอพยพประชาชน กรณีภัยจากคลื่นสึนามิ ในพื้นที่ 6 จังหวัดฝั่งทะเลอันดามัน ได้แก่ จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล เพื่อทดสอบกระบวนการแจ้งเตือนภัย ระบบอุปกรณ์เตือนภัยในพื้นที่ ทดสอบระบบการสื่อสารการแจ้งเตือนภัยในภาวะฉุกเฉินของประชาชนและเครือข่ายจิตอาสา และเพื่อสร้างการรับรู้ให้กับประชาชน ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการเฝ้าระวังการติดตามสถานการณ์ การแจ้งเตือน รวมถึงการรับมือและอพยพจากภัยสึนามิ เพื่อเตรียมความพร้อมและสร้างการรับรู้ให้แก่หน่วยงานในพื้นที่
โดยในพื้นที่จังหวัดพังงา มีการฝึกซ้อมที่บ้านน้ำเค็ม หมู่ที่ 2 ตำบลบางม่วง อำเภอตะกั่วป่า และที่บ้านท่าแป๊ะโย้ย หมู่ที่ 2 ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี และเวลา 10.10 น. มีการสมมุตสถานการณ์เกิดแผ่นดินไหว 8.5 ริกเตอร์ ในทะเลบริเวณหมู่เกาะนิโคบาร์ ประเทศอินเดีย หลังจากนั้น จะมีการแจ้งเตือนภัยจากศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ และมีการอพยพประชาชนไปยังศูนย์อพยพหรือพื้นที่ปลอดภัย
ทางด้านนายเชษฐา โมสิกรัตน์ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กล่าวว่า สำหรับการฝึกซ้อมในวันนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยพบว่าประชาชนในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจอย่างดี ที่มีการจัดระบบอย่างถูกต้องในการดำเนินตามที่มีการกำหนดไว้ซึ่งพบว่าชาวบ้านที่บ้านน้ำเค็มมีความพร้อมตลอดเวลา แต่ก็ยังพบว่าปัญหาเรื่องของถนนภายในหมู่บ้านที่มีความคับแคบรวมทั้งระบบสัญญาณเตือนภัยที่ทางเราได้รับข้อมูลจากทางชาวบ้านในการนำไปปรับปรุงแก้ไขปัญหา อุปสรรคต่างๆที่ได้รับในการฝึกครั้งนี้ไปปรับปรุง
ซึ่งในอนาคตเรื่องปัญหาคลื่นสึนามิที่อาจจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดก็เป็นได้ โดยที่บริเวณหมู่บ้านน้ำเค็มถือว่ามีความพร้อมเป็นอย่างมากที่นำไปเป็นต้นแบบให้กับอื่นในการอพยพหลบภัย ซึ่งได้ให้ทางศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาตินำข้อมูลต่างๆศึกษาไปพัฒนาต่อยอดแนวทางคู่มือในการใช้การฝึกที่อื่นต่อไป โดยขณะนี้มีการฝึกซ้อมตลอดพื้นที่ 6 จังหวัดอันดามัน เพื่อเป็นการทดสอบระบบการเตือนภัยการอพยพโดยในอนาคตจะมีการขยายผลองค์กรท้องถิ่นทุกแห่ง ในการใช้แนวทางไปฝึกทุกครั้งประจำทุกปีต่อไปเพื่อให้เกิดความมั่นใจมีความพร้อมที่จะรับมือกับภัยพิบัติสึนามิได้ โดยทางศูนย์ เตือนภัยพิบัติแห่งชาติมาอยู่ในกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยก็ได้นำแนวทางต่างๆที่เคยได้ทำไว้มาสานต่อและมีการต่อยอดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยการใช้จุดเด่นของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารภัยที่มีหน่วยงานในพื้นที่และเครือข่ายก็ทำให้งาน มีความเข้มแข็งมากขึ้น ก็สามารถพัฒนาในการแจ้งเตือนภัยการอพยพประชาชนให้กับประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยดียิ่งขึ้นต่อไป
จึงขอให้ประชาชนมั่นใจในการพัฒนาระบบเตือนภัยให้เกิดความปลอดภัยต่อพี่น้องประชาชนในพื้นที่เสี่ยง ซึ่งถ้าพบว่ามีพื้นที่ใดเสี่ยงขอให้ประชาชนแจ้งไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่โดยทางศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติจะรวบรวมข้อมูลในการพัฒนาระบบและยังมีแผนพัฒนาให้ควบคุมทุกพื้นที่ นอกจากปัญหาภัยพิบัติคลื่นยักษ์สึนามิ ยังมีปัญหาเรื่องภัยพิบัติต่างๆทั้งวาตภัยอุทกภัยปัญหาน้ำท่วมดินสไลด์ซึ่งลักษณะการจัดการก็จะมีการคล้ายกัน ในการอาศัยการแจ้งเตือนความร่วมมายร่วมมือของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสิ่งสำคัญที่สุดคือการร่วมมือของพี่น้องประชาชนจึงขอความร่วมมือในการฝึกซ้อมแผนเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติต่างๆในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนต่อไป