เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



"สพป.ศรีสะเกษ เขต 1" เปิดบ้านนวัตกรรมการศึกษา สู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21


22 ส.ค. 2563, 08:37



"สพป.ศรีสะเกษ เขต 1" เปิดบ้านนวัตกรรมการศึกษา สู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21




เมื่อวันที่  21  ส.ค.63  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  ว่าที่  ร.ต.ดร.ทวีศักดิ์  นามศรี  ผอ.สพป.ศรีสะเกษ  เขต  1  เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการสร้างความเข้มแข็งโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาในสังกัด  สพป.ศรีสะเกษ  เขต  1  กิจกรรมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  “เปิดบ้านนวัตกรรมการศึกษาศรีสะเกษ  เขต  1  สู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่  21”  จัดขึ้นในระหว่างวันที่  21 - 22  ส.ค. 63  ซึ่งมีผู้เข้ารับการอบรม  ประกอบด้วย  ผู้บริหาร  ร.ร. จำนวน  24  คน  ครูแกนหลักในการขับเคลื่อนนวัตกรรมแต่ละ  ร.ร. จำนวน  60  คน  และนักเรียน  จำนวน  101  คน  โดยมี  นายทองคำ  จันทร์โสภา  ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ  เป็นผู้กล่าวรายงาน  และมี  นายสมโภชน์  หลักฐาน  ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ  ติดตาม  และประเมินผลการจัดการศึกษา  พร้อมด้วย  ศึกษานิเทศก์  ผู้บริหาร  ร.ร  คณะครู  และนักเรียน  เข้าร่วมพิธีเปิดในครั้งนี้ 



ว่าที่  ร.ต.ดร.ทวีศักดิ์  นามศรี  ผอ.สพป.ศรีสะเกษ  เขต  1  กล่าวว่า  ตนรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนตั้งใจมาทำความรู้  ความเข้าใจในการใช้นวัตกรรมการศึกษาต่าง ๆ  ร่วมกัน  ทั้ง  7  นวัตกรรม  เพื่อยกระดับและพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้เกิดทักษะด้านการคิดวิเคราะห์  สังเคราะห์  และสร้างสรรค์ตามเป้าหมายการจัดการศึกษา  เพื่อพัฒนาคนศรีสะเกษในอีก  10  ปีข้างหน้า  ให้เข้าถึงความเป็นคนที่มีบุคลิกภาพที่บ่งบอกถึงลักษณะ  “รู้คิด  จิตใจดี  มีทักษะชีวิต  ทักษะอาชีพ  มีสุขภาพกายที่ดี  มีความสุข”  ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศลงวันที่  18  ก.ย. 2561  ให้  จ.ศรีสะเกษ  เป็นจังหวัดนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการการศึกษา  1  ใน  8  ของประเทศไทย  และ  สพป.ศรีสะเกษ  เขต  1  มี  ร.ร.เข้าร่วมเป็น  ร.ร.นำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา  ในปีการศึกษา  2562  ตามประกาศกระทรวง ศึกษาธิการ  จำนวน  12  ร.ร. และในปีการศึกษา  2563  มีการคัดเลือก  ร.ร.นำร่องตามประกาศของคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา  จ.ศรีสะเกษ  อีก  12  ร.ร รวมทั้งสิ้น  24  ร.ร.โดยมีเป้าประสงค์เพื่อให้เกิดรูปแบบการบริหารจัดการศึกษารูปแบบใหม่  ที่เน้นการกระจายอำนาจการบริหารจัดการจากส่วนกลางไปยังจังหวัด  เขตพื้นที่การศึกษา  และสถานศึกษาเป็นหลัก  โดยมีระบบกลไกการบริหารจัดการพื้นที่ด้วยตนเอง  เพื่อส่งเสริมให้สถานศึกษามีอิสระในด้านวิชาการ  การบริหารบุคลากร  และการบริหารทั่วไป  ด้วยความรับผิดชอบต่อคุณภาพการศึกษา  นำไปสู่การพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนให้เหมาะสมกับศักยภาพของผู้เรียน  บริบทพื้นที่  ท้องถิ่น  ซึ่งการนำนวัตกรรมการศึกษา  (Educational Innovation)  มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนนั้น  เชื่อว่าจะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น  ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว  มีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม  เกิดแรง จูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา  และประหยัดเวลาในการเรียนรู้  ปัจจุบันโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา  ได้นำนวัตกรรมการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการและบริบทของโรงเรียนมาใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้  ที่เป็นการเรียนรู้เชิงรุก  (Active Learning) แตกต่างกันไป  ซึ่งในวันนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีในการสร้างความเข้มแข็งแก่  ร.ร.นำร่องการใช้นวัตกรรมต่าง ๆ  ทั้ง  24  ร.ร.ให้สามารถพัฒนาตนเองให้เข้มแข็ง  สามารถเป็นแกนหลัก  (Node)  เพื่อเป็นหน่วยขยายผลการดำเนินงานให้แก่  ร.ร.ที่เข้าร่วมใหม่ในปีต่อไปอีกด้วย 


 






Recommend News





MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.