"ผู้ว่าฯเลย" ลงพื้นที่แก้ปัญหาภัยแล้ง - น้ำประปา โรงพยาบาลเชียงคาน
13 ก.พ. 2563, 13:05
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย และ นายประมวล ลาภจิตต์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเลย (ปภ.จ.เลย) เดินทางลงพื้นที่ ตรวจสถานการณ์ภัยแล้งและพื้นที่เสี่ยงต่อการขาดน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และการบริหารจัดการน้ำเขตพื้น ที่ อ.เชียงคาน โดยมีนายอภินันต์ สุวรรณโค รก.นอ. เชียงคาน นายพิชัย บัณฑิตย์ ผจก.การประ ปาส่วนภูมิภาค สาขาเชียงคาน ผอ.โรงพยาบาลเชียงคาน หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานคณะผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ร่วมต้อนรับ
นายอภินันต์ สุวรรณโค รก.นอ. เชียงคาน กล่าวว่า อ.เชียงคาน มี 8 ตำบล 82 หมู่บ้าน ประชากร ชาย 30,466 คน หญิง 30,672 คน รวม 61,138 คน 21,688 ครัวเรือน ปัจจุบัน มีพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง รวม 7 ตำบล 14 หมู่บ้าน ตำบลเสี่ยงภัยสูง มี ต.นาซ่าว 2 หมู่ บ้าน ต.เขาแก้ว 4 หมู่ บ้าน ต บุฮม 1 หมู่บ้าน ต.จอมศรี 2 หมู่บ้าน ต.เชียงคาน 1 หมู่บ้าน และ ต.หาดทรายขาว 4 หมู่บ้าน โดยความต้องการของประชาชน ที่ต้องการให้เข้าไปช่วยเหลือ ได้แก่ การเป่า ล้างบ่อบาดาล .ให้ทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขอจ่ายขาดเงินสะสม เงินสำรองจ่าย ฯ จัดทำโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ท้องถิ่นละ 1.5 ล้านบาท และขอสนัน. สนุนงบประมาณจากสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ นำรถบรรทุกน้ำแจกจ่ายประชาชนตามแผนการแจกจ่ายน้ำบ้านที่ขาดแคลน ด้านการเกษตร มีพื้นที่ทำการเกษตร 211,609.38 ไร่ ยังไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง
ายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย กล่าวว่า ที่มาตรวจราชการพื้นที่เชียงคานนี้ ได้ปรึกษากันในเรื่องการช่วยกันแก้ปัญหาภัยแล้งในเชียงคาน โดยพื้นที่อำเภอเชียงคานนั้น ปัจจุบันเรามีการทำอยู่สองแบบคือแบบที่หนึ่ง คือเป็นการสูบน้ำที่เป็นพื้นที่บริการให้บริการของการผลิตประปาส่วนภูมิภาคเชียงคาน คาดว่าไม่น่าจะมีปัญหา ส่วนพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้การประปา ให้มีการแก้ไปตามสถานการณ์หากอยู่ใกล้แม่น้ำโขงก็จะสามารถสูบน้ำจากแม่น้ำโขง เอาไปใช้ หากพื้นที่ที่อยู่นอกเขต ก็อาจจะต้องมีการเจาะบาดาลเพิ่มหรือไม่งั้นก็จะต้องนำรถน้ำจากการประปาภูมิภาคเชียงคาน นำไปส่งในพื้นที่
สำหรับการแก้ปัญหา เครื่องสูบน้ำของการประปาส่วนภูมิภาคเชียงคาน (ในแม่น้ำโขง) ปัจจุบัน ได้มีการขุดร่องน้ำบริเวณหน้าเครื่องสูบให้ลึกลงไปประมาณ 2-3 เมตร ระดับการสูบจะไม่มีปัญหาอะไร สามารถที่จะเลี้ยงเมืองเชียงคานได้ 28 หมู่บ้าน ส่วนโรงพยาบาลเชียงคานนั้นใช้สองระบบคือการประปาภูมิภาคและสูบน้ำ บาดาล มาผลิตใช้เองซึ่งใช้วันละประมาณ 50 คิว ปัจจุบันนี้ เรามีทั้งน้ำสำรอง10,000 คิวต่อวันไม่น่าจะมีปัญหาในโรงพยาบาล