ฤดูฝนเริ่มมาแล้ว!! "ชาวเวียคะดี้" ร่วมกับผู้นำชุมชน ทหาร นักเรียนและจิตอาสา ร่วมกันสร้างฝายเพื่อชะลอน้ำแห่งลำดับที่ 10
22 มิ.ย. 2562, 09:58
วันที่ 22 มิ.ย. 2562 ผู้ส่อข่าว ONBnews รายงานว่าที่บ้านโมระข่า หมู่5 ชุแหละ ต.หนองลู อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี นายพุทธชาย หลวงวิเศษ กำนัน ตำบลหนองลู ได้ร่วมกับจิตอาสาพระราชทาน ชาวบ้านจากบ้าน ชุแหละ บ้านเวียคะดี้ บ้านโมระข่า ครู นักเรียนจากโรงเรียนสหคริสเตียนศึกษา ทหารชุดรักษาความสงบ มทบ 17 ทหารหน่วยเฉพาะกิจลาดหญ้า ( กองกำลังสุรสีห์ ) ร่วมกันสร้างฝาย เพื่อตั้งใจทำฝายให้ครบ 10 เพื่อเฉลิมพระเกียรติในหลวงรัชกาลที่10 ในวโรกาส ทรงขึ้นครองราชย์ โดยใช้เวลา1เดือนในการสร้ายฝายให้ได้ครบตามจำนวนที่ตั้งเป้าหมายไว้
วันนี้เป็นการสร้างฝายสุดท้ายลำดับที่10 ในลำห้วยโมระข่า ที่นี่(บ้านโมรข่า) โดยความร่วมมือของทุกภาคส่วนสังคม โดยเลือกใช้วัสดุที่หาได้ในพื้นที่ อาทิ ไม้ไผ่ หิน ทราย โดยได้รับการสนับสนุนถุงปุ๋ยจาก อ.บ.ต.หนองลู จำนวนกว่า 200 ใบ ในการสร้างฝายในวันนี้ ซึ่งประโยชน์จากการสร้างฝาย จะช่วยลดความแรงของน้ำในฤดูน้ำหลาก ลดการกัดเซาะตลิ่งและพื้นที่ไร่นาของชาวบ้าน ไม่ให้ได้รับความเสียหาย นอกจากนั้นยังช่วยชะลอการไหลของน้ำ สร้างความชุ่มชื้นในพื้นที่ ช่วยให้มีน้ำไหลทั้งปี ซึ่งส่งผลดีต่อระบบประปาภูเขาของหมู่บ้าน และสภาพป่ารอบๆชุมชนนั่นเอง อีกทั้งกิจกรรมการสร้างฝายยังสร้างความรักความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชุมชน นายพุทธชาย หลวงวิเศษ กำนัน ในพื้นที่ได้พูดถึงการสร้างฝ่ายเพื่อชะลอน้ำ ให้กับผู้ร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ได้ทราบ
สำหรับฝายเพื่อการชะลอน้ำ ซึ่งหลายๆ คนคงเคยได้เคยรู้จักฝายชะลอน้ำกันมาบ้าง ตามโฆษณากิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ขององค์กรใหญ่ๆ ตามข่าวสารประจำวัน หรือแม้กระทั่งสารคดีสิ่งแวดล้อม แต่คงมีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่รู้จักความหมายและคุณค่าของฝายชะลอน้ำ ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบนิเวศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม ขาดแคลนแหล่งน้ำ ที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญของสิ่งแวดล้อมในยุคปัจจุบัน
ฝายชะลอน้ำ หรือ Check Dam คือสิ่งก่อสร้าง ที่ทำขึ้นเพื่อขวางหรือกั้นทางน้ำ โดยปกติมักจะกั้นลำห้วย ลำธารขนาดเล็กในบริเวณที่เป็นต้นน้ำ หรือ พื้นที่ที่มีความลาดชันสูงให้สามารถกักตะกอนอยู่ได้ และหากเป็นช่องที่น้ำไหลแรงก็สามารถช่วยในการชะลอการไหลของน้ำให้ช้าลงด้วย เพื่อการกักเก็บตะกอนเอาไว้ไม่ให้ไปทับถมลำน้ำตอนล่าง อันเป็นเป็นวิธีการอนุรักษ์ดินและแหล่งน้ำ
นอกจากนี้ยังนิยมสร้างฝายชะลอน้ำในพื้นที่ต้นน้ำที่แห้งและเสื่อมโทรม โดยมักจะสร้างในบริเวณร่องน้ำ เมื่อฝนตกฝายจะทำการชะลอน้ำไม่ให้ไหลเร็วจนเกินไป ทำให้ในบริเวณดังกล่าวมีความอุดมสมบูรณ์ ดินเกิดการอุ้มน้ำ ต้นไม้เจริญเติบโตได้ดียิ่งขึ้น พื้นที่มีความชุ่มชื้น อันจะส่งผลดีต่อบริเวณโดยรอบซึ่งสอดคล้องกับแนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เกี่ยวกับการพัฒนาและฟื้นฟูป่าไม้ ด้วยการใช้ทรัพยากรที่เอื้ออำนวย เกิดการสัมพันธ์ซึ่งกันและกันให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ฝายชะลอน้ำสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ ฝายชะลอน้ำแบบท้องถิ่น (หรือฝายแม้ว ที่ทำโดยวัสดุจากธรรมชาติ เช่น กิ่งไม้ ไม้ล้ม หรือก้อนหินชนิดต่างๆ มาวางเรียงซ้อนกัน) ฝายชะลอน้ำแบบเรียงด้วยหิน (ฝายกึ่งถาวร) และฝายชะน้ำแบบคอนกรีตเสริมเหล็ก (ฝายแบบถาวร) ซึ่งการก่อสร้างฝายชะลอน้ำนั้นควรได้รับการศึกษาโดยละเอียด ให้มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และปัญหา เพราะไม่เช่นนั้นอาจเกิดผลเสียมากกว่าผลดีได้ เช่น ทำให้น้ำนิ่ง ไม่เกิดการไหลเวียน ส่งผลให้น้ำเน่าเสีย ระบบนิเวศเสื่อมโทรม หรือแม้กระทั่งการก่อสร้างฝาย อาจไปทำลายทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ที่มีอยู่โดยรอบได้./