ผู้บริหารฯ เซี่ยงไฮ้ไทยรับเบอร์ฯ ลงพื้นที่สถานีรถไฟวังเย็น วางแผนก่อนเข้าเตรียมปรับปรุงพื้นที่สร้างสถานีขนถ่ายสินค้าระบบราง
30 ก.ย. 2567, 13:17
โครงการสถานีขนถ่ายสินค้าระบบทางราง ของบริษัท เซี่ยงไฮ้ไทยรับเบอร โปรดักส์ จำกัด สนองรับภายใต้กรอบทิศทางการดำเนินงานสู่วิสัยทัศน์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย คนที่ 20 ได้ชู 6 วิสัยทัศน์ ขับเคลื่อนการรถไฟฯ ก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางรางของภูมิภาค “เพิ่มรายได้ – ลดรายจ่าย - พัฒนาบริการ” เพิ่มโอกาส เพิ่มคุณค่า ลดภาระของรัฐ พัฒนาบุคลากร”
วันนี้ 30 ก.ย. 3567 ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า นายยงยุทธ คงสวัสดิ์ กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม บริษัท เซี่ยงไฮ้ไทยรับเบอรโปรดักส์ จำกัด ผู้บริหารโครงการสถานีขนถ่ายสินค้าระบบราง (รถไฟ)ระหว่างประเทศ สถานีวังเย็น ตำบลวังเย็น อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี และโครงการท่าเรือบกกาญจนบุรี(แหลมฉบัง-กาญจนบุรี-ทวาย) พร้อมด้วย นายภัทร์ติพงษ์ เหลืองทอง และนายวิทยา บุญยศ กรรมการบริหารบริษัท เซี่ยงไฮ้ไทยรับเบอร์โปรดักส์ จำกัด ได้ลงพื้นที่สถานีรถไฟวังเย็น ตำบลวังเย็น อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ตรวจสอบพื้นที่เพื่อเตรียมการก่อสร้างสถานีขนถ่ายสินค้าระบบทางราง
หลังจากการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ส่งหนังสืออนุมัติให้ใช้พื้นที่บริเวณสถานีรถไฟวังเย็นอย่างเป็นทางการแล้ว ในพื้นที่เกือบ 20 ไร่ โดยหลังจากนี้ประมาณก่อนสิ้นปี 2567 ทางบริษัท ดซี่ยงไฮ้ไทยรับเบอร์โปรดักส์ จำกัด จะเริ่มมีการวางศิลาฤกษ์ ก่อนลงมือทำการก่อสร้างโครงการสถานีขนถ่ายสินค้าระบบทางราง รวมถึงการก่อสร้างสถานที่ของราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการขนถ่ายสินค้าจากในพื้นที่ก่อนออกไป และ สินค้าจากต่างแดนที่ผ่านเข้ามายังประเทศไทย
ซึ่งเมื่อโครงการเสร็จสิ้นสามารถขนถ่ายสินค้าได้เวลานี้มีหน่วยงานเอกชนตอบรับเข้ามาบ้างแล้วที่จะใช้พื้นที่ตรงจุดนี้เป็นสถานที่ขนถ่ายสินค้า และเมื่อโครงการเสร็จสิ้น โดยเฉพาะชาวกาญจนบุรี จะได้รับผลประโยชน์กับโครงการนี้มหาศาล รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนสามารถใช้เส้นทางในการขนส่งสินค้าได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น ประหยัดทั้งเวลา ค่าขนส่ง ฯลฯ. โดยสถานที่ขนถ่ายสินค้าระบบทางราง สถานีบ้านวังเย็น จะเชื่อมต่อสินค้าออกไปยังประเทศต่างๆ เช่น ประเทศลาว เมียนมา จีน เวียดนาม มาเลเซีย และประเทศสิงคโปร
และภายใต้กรอบทิศทางการดำเนินงานสู่วิสัยทัศน์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย คนที่ 20 ได้ชู 6 วิสัยทัศน์ ขับเคลื่อนการรถไฟฯ ก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางรางของภูมิภาค “เพิ่มโอกาส เพิ่มคุณค่า ลดภาระของรัฐ พัฒนาบุคลากร” จำนวน 6 ด้าน ได้แก่ 1. ดำเนินกิจการเพื่อเพิ่มรายได้ 2. พัฒนาการให้บริการ 3. การลดรายจ่าย 4. บริหารจัดการด้านบุคลากร 5. สนับสนุนประสานงานติดตาม และเร่งรัดโครงการ โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญตามนโยบายรัฐบาล และ 6. ดำเนินโครงการด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม