เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นำเจ้าหน้าที่ 70 ท่าน ศึกษาดูงานด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัย


12 ก.ค. 2567, 17:03



องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นำเจ้าหน้าที่ 70 ท่าน ศึกษาดูงานด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัย




วันนี้ 12 กรกฎาคม 2567 ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า ที่บริเวณสำนักงานใหญ่มูลนิธิพิทักษ์กาญจน์ ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี  นายสมยศ  ภักดีจันทร์  นายกเทศมนตรีตำบลไพศาลี  จังหวัดนครสวรรค์  ได้นำเจ้าหน้าที่และกำลังอาสาสมัคร(อปพร)จำนวน 70 ท่าน เดินทางไปศึกษาดูงาน ยังมูลนิธิพิทักษ์กาญจน์ สำนักงานใหญ่  จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อเปิดโอกาสเพิ่มประสิทธิภาพให้กับทางเจ้าหน้าที่ของเทศบาลตำบลไพศาลี  เพื่อนำความรู้  รวมถึงมีความพร้อมก่อนในการปฏิบัติงาน ด้านการป้องกันบรรเทาสาธารณภัย  ให้สามารถเข้าระงับเหตุได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และเจ้าหน้าที่ต้องปลอดภัย

 

สำหรับการศึกษาดูงานด้านการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในครั้งนี้ โดยมี นายณพสิฐ วัฒนภูมิสิริ  เลขานุการ  มูลนิธิพิทักษ์กาญจน์ และ นายสราวุฒิ  ขำดี  หัวหน้ากู้ภัยมูลนิธิพิทักษ์กาญจน์  ให้การต้อนรับ และเป็นผู้บรรยายสาธิตให้ความรู้ขั้นตอนเกี่ยวกับ ด้านงานบรรเทาสาธารณภัย  รวมถึงขั้นตอนในการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บเบื้องต้นให้กับคณะของเทศบาลตำบลไพศาลี ทุกท่านได้รับชมด้วยความสนใจเป็นอย่างมาก

 

สำหรับมูลนิธิพิทักษ์กาญจน์ ได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิฯ เมื่อประมาณปี 2539 โดยในช่วงแรกๆ นั้นมี อาจารย์วันจักร  จันทร์สว่าง  เป็นหัวหน้าฝ่ายกู้ภัย มูลนิธิพิทักษ์กาญจน์ จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นผู้ที่เสียสละพัฒนามูลนิธิพิทักษ์ฯ ขึ้นมาเริ่มแรกปัญหามากมาย จนปัจจุบันนี้ ต้องถือว่ามูลนิธิพิทักษ์กาญจน์ นี้เป็นที่ยอมรับทั้งประชาชนในพื้นที่ รวมถึงชาวต่างชาติ เนื่องจากจังหวัดกาญจนบุรี เป็นเมืองท่องเที่ยวมีทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำ ถ้ำ ภูเขาสูง เส้นทางในพื้นที่มีจุดเสี่ยงมากมาย การเกิดอุบัติเหตุ เกิดขึ้นตลอดเวลาในแต่ละวัน จะพบว่ารถให้บริการผู้บาดเจ็บวิ่งกันทั้งวันเพื่อช่วยเหลือทั้งผู้บาดเจ็บ ผู้เสียชีวิต ทั้งสัตว์ต่างๆ ฯลฯ. และต้องฝากไปยังผู้ใช้รถใช้ถนน เมื่อพบเจอรถพยาบาลเปิดเสียงไซน์เลน ขอได้หลีกให้ทางแก่รถพยาบาลด้วย

 

โอกาสนี้ อาจารย์วันจักร  จันทร์สว่าง  เป็นหัวหน้าฝ่ายกู้ภัย มูลนิธิพิทักษ์กาญจน์ เคยบอกว่า 4 ปีที่ผ่านมา โมเดลการแพทย์ฉุกเฉินที่ถูกสร้างขึ้นโดย สพฉ. ทำให้มูลนิธิกู้ชีพ-กู้ภัยทำงานอย่างมีศักดิ์ศรีมากขึ้น เปลี่ยนสถานะจากเด็กเก็บศพไปสู่เจ้าหน้าที่แพทย์ฉุกเฉินที่มีมาตรฐานกำกับอย่างเต็มภาคภูมิ

 

อาจารย์วันจักร  ตั้งข้อสังเกตว่า  การนำอำนาจกลับไปอาจมาจากแนวความคิดของ สธ. ที่คิดว่าหากนำกลับมาดูแลเองจะสั่งการได้เต็มที่และงบประมาณก็ลงไปตรงมากกว่า แต่ สธ.อาจลืมไปว่าในระบบการแพทย์ฉุกเฉินนั้น ยังมีมูลนิธิกู้ชีพ-กู้ภัย อีกหลายร้อยแห่งทั่วประเทศที่ไม่ใช่คนของตัวเอง ขณะเดียวกันงานการแพทย์ฉุกเฉินไม่ใช่งานที่จะคิดว่าใครเป็นคนของใคร หากแต่ต้องคิดว่าชีวิตคนนั้นคอขาดบาดตายที่สุด ตัวอย่างช่วงภัยพิบัติน้ำท่วมใหญ่ 2 ปีที่ผ่านมา คือบทพิสูจน์การทำงานในฐานะมือประสานของ สพฉ.ได้ดี

 

"กระทรวงอาจลืมไปแล้วว่าการจัดการแพทย์ฉุกเฉิน ต้องการให้เกิดความคล่องตัวมากที่สุด ไม่ใช่สั่งการจากบนลงล่างเพียงอย่างเดียว บอกตรงๆ ว่าถ้าให้กระทรวงมาชี้นิ้วสั่ง มูลนิธิทั้งหมดก็ไม่อยากทำ เพราะเรารู้ดีว่าระบบราชการมันล่าช้าขนาดไหน" วันจักรกล่าว

 



 


 






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.