สภาพอากาศที่ร้อนเกือบ 50 องศา ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 67 ทุกหน่วยงาน อปท. จับมือ จัดกิจกรรมสืบสานประเพณีสงกรานต์ยิ่งใหญ่
9 เม.ย. 2567, 13:08
ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า ททท.ร่วมกระตุ้นเศรษฐกิจ แจกเสื้อช่วงเทศกาลสงกรานต์ สายฟินเริ่มออกเดินทางได้ ททท. ร่วมกับ Mc Jean ขอเชิญคนไทยมาร่วมเป็น "นักท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย" โดยการออกเดินทางท่องเที่ยวไปยัง 17 จังหวัดภาคกลาง ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี สิงห์บุรี ลพบุรี ชัยนาท สุพรรณบุรี อ่างทอง นครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ เพียง แชะ แชร์ เช็คอิน ลงทะเบียน ตามเงื่อนไข รับฟรี !! เสื้อยืด “นักท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย” ลวดลายประจำจังหวัด ง่าย ฟรี มีที่เดียว แจกจังหวัดละ 1,000 ตัว เที่ยวก่อน มีสิทธิก่อน เริ่ม 10 เมษายน นี้เป็นต้นไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในเทศกาลสงกรานต์ ปี 2567 นี้ ทางหน่วยงานปกครองท้องถิ่นแต่ละแห่ง (อปท.) และวัดต่างๆ ได้พร้อมร่วมกันจัดกิจกรรมงานสืบสานประเพณีสงกรานต์กันยิ่งใหญ่ โดยเฉพาะในเขตเมือง จังหวัดกาญจนบุรี จับมือ 3 อปท.ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี เทศบาลเมืองกาญจนบุรี เทศบาลเมืองปากแพรก จัดกิจกรรมสืบสานประเพณีสงกรานต์ บริเวณบ้านลิ้นช้างจุดท่องเที่ยว จอดแพเมืองกาญจน์ โดยจะเริ่มงานตั่งแต่วันที่ 13 ถึง 15 ส่วนในแต่ละอปท. จัดกันไปถึงวันที่ 19 เมษายน 2567 จะเป็นวันสุดท้ายของเทศกาลสงกรานต์
เขตอำเภอเมือง นอกจาก 3 อปท. จับมือร่วมจัดกิจกรรมสืบสานประเพณีสงกรานต์ ที่หอพระประวัติสมเด็จพระสังฆราชเจ้าฯ ริมน้ำ วัดเทวสังฆารามพระอารามหลวง(วัดเหนือ) จัดกิจกรรมเพิ่มสุขสงกรานต์ สืบสานวัฒนธรรม โดยงานเริ่ม 12 เม.ย. ตั่งแต่เวลา 12.00 น. ถึง 20.30 น.
เขตอำเภอท่าม่วง เริ่ม 12 – 16 เม.ย. ขอเชิญพ่อแม่พี่น้องชาวกาญจนบุรี และนักท่องเที่ยวทุกท่าน มาไหว้พระปิดทองขอพรหลวงปู่เลไลย์ สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านหนองขาว พบกับศิลปะวัฒนธรรมที่หาชมได้ยาก สงกรานต์หนองขาวยิ่งใหญ่ ประกวดวัวเทียมเกวียน ชิงถ้วยรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเงินรางวัลชนะเลิศจำนวน 50,000 บาท รองอันดับ 1 เงินรางวัล 30,000 บาท รองอันดับ 2 เงินรางวัล 20,000 บาท
เขตอำเภอพนมทวน หนึ่งใน UNSEEN ของงานประเพณีสงกรานต์ของเมืองกาญจน์ ต้องยกให้ที่นี่ งานบุญเก่าแก่ที่สืบทอดมายาวนานกว่า 200 ปีของชาวบ้านเบญพาด ตำบลพังตรุ อำเภอพนมทวน จัดขึ้นก่อนหน้าวันสรงน้ำพระ 1 วัน โดยชาวบ้านเบญพาดแต่ละหมู่ จะร่วมกันทำธงที่ทำจากลำไม้ไผ่ขนาดยาว และตกแต่งประดับประดาด้วยผืนผ้าสี ที่ใช้ไม้ผูกทำเป็นผัง มีใบตาลสานเป็นปลา และเครื่องตกแต่งประกอบอื่น ๆ อย่างสวยงาม ช่วงไฮไลท์ของงาน คือ การแข่งขันยกธง ตัวแทนของแต่ละหมู่บ้านไม่จำกัดจำนวน
เขตอำเภอหนองปรือ โดยปีนี้ประเพณีสงกรานต์แห่ปราสาทผึ้ง กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-17 เมษายน ที่ วัดหนองปรือ อ.หนองปรือ จ.กาญจนบุรี ไฮไลท์ของงานได้แก่ การแห่ปราสาทผึ้งด้วยขบวนรถที่มีการประดับตกแต่งอย่างสวยงามของชุมชนต่าง ๆ (จัดเฉพาะวันที่ 17 เมษายน ตั้งแต่เวลา 15.00 น. เป็นต้นไป) การทำบุญตักบาตร และสรงน้ำพระที่วัด การละเล่นพื้นบ้าน การแสดงมหรสพ ดนตรี และการออกร้านจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ
เขตอำเภอสังขละบุรี ที่วัดวังก์วิเวการาม (วัดหลวงพ่ออุตตมะ) จัดสืบสานประเพณีสงกรานต์แบบชาวไทยรามัญ หรือชาวมอญ บริเวณลานหน้าพุทธคยา ด้วยการสงน้ำพระจากกระบอกไม้ไผ่ที่ชาวบ้านร่วมกันจัดสร้างขึ้นมา ซึ่งเป็นที่ตื่นตาตื่นใจ กับนักท่องเที่ยว จะเนื่องแน่นในทุกปีที่ผ่านมา โดยประเพณีของชาวไทยรามัญสืบสานกันมาช้านานจนถึงปัจจุบันนี้ ผู้สูงอายุจะไปรักษาศีลที่วัด แล้วลูกหลานจะทูนอาหารบนศีรษะไปส่งมอบแก่ ผู้สูงอายุที่วัด รวมถึงการอาบน้ำแก่ผู้สูงอายุด้วย สรงน้ำพระสงฆ์เดินลงจากพระเจดีย์พุทธคยา เพื่อให้ชาวบ้าน นักท่องเที่ยวได้สรงน้ำพระกัน เป็นภาพที่สวยงามหาดูได้ยากมากๆ กิจกรรมเริ่ม แต่ 13 สิ้นสุด 17 เม.ย. 67
ซึ่งในทุกอำเภอได้จัดกิจกรรมประเพณีสงกรานต์ทุกแห่ง โดยคัดที่เด่นๆ มาปิดท้ายประเพณีสงกรานต์ 67 ที่อำเภอเลาขวัญ จัดวันที่ 19 เมษายน 2567 ณ วัดเลาขวัญ อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี ขบวนรถแห่หลวงพ่อนาค พระพุทธรูปปางนาคปรก หรือที่ชาวบ้านเลาขวัญ เรียกกันว่า “หลวงพ่อนาค” คนรุ่นเก่าได้สันนิษฐานกันไว้ว่า เป็นพระพุทธรูปซึ่งได้จัดสร้างขึ้นในสมัยลพบุรี เป็นราชธานี อายุประมาณ 800 ปี เพราะอยู่ในช่วงสมัยศตวรรษที่ 17 หรือ 18 เนื้อองค์พระพุทธรูปจัดสร้างด้วยหินทราย มีขนาดหน้าตักกว้าง 14 นิ้ว ความสูงจากฐานจรดสุดพระเศียร 18 นิ้ว รถแห่นางสงกรานต์ประจำปี โดยขบวนรถเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ (72 พรรษา) ขบวนนางรำ กว่าร้อยชีวิตที่แต่งกาย นุ่งโจงกระเบน ด้วยผ้าทอมือ ผลิตภัณฑ์ชุมชนของดีอำเภอเลาขวัญ การรำของนางรำกว่าร้อยชีวิต