เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ PM2.5 จังหวัดกาญจน์ หากออกไปกลางแจ้งแนะสวมหน้ากากอนามัย


21 ม.ค. 2567, 15:26



เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ PM2.5 จังหวัดกาญจน์ หากออกไปกลางแจ้งแนะสวมหน้ากากอนามัย




 

 

วันนี้ 21 ม.ค.67 ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดกาญจนบุรี ได้รายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศของจังหวัดกาญจนบุรี ประจำวันที่ 21ม.ค.67 เวลา 08.00 น.โดยสถานีตรวจวัด ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ว่า “ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 มีค่า 55.3 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร คุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ”

 

แนะนำให้เด็ก คนชรา สตรีมีครรภ์ ผู้ป่วยในกลุ่มโรคทางเดินหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือด ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้งถ้ามีอาการทางสุขภาพ เช่น ไอ หายใจลำบาก ตาอักเสบ แน่นหน้าอก ปวดศีรษะ หัวใจเต้นไม่เป็นปกติ คลื่นไส้ และอ่อนเพลีย ควรปรึกษาแพทย์ ส่วนประชาชนทั่วไปควรเฝ้าระวังสุขภาพ ถ้ามีอาการไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาทำกิจกรรมกลางแจ้ง หากมีความจำเป็นต้องไปทำกิจกรรมนอกบ้าน ควรหรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่นหน้ากากอนามัย

 

 สำหรับจุดความร้อน (Hotspot) ที่พบในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี มี 24 จุด ประกอบด้วย ป่าอนุรักษ์ 10 จุด ป่าสงวน 7 จุด เขต สปก.1 จุด พื้นที่เกษตร 3 จุด และอื่นๆ 3 จุด ซึ่งฝุ่นละอองขนาดเล็กในพื้นที่มีแนวโน้มค่าฝุ่นเพิ่มขึ้นระหว่างวันที่ 27-28 ม.ค.2567 เส้นทางการเคลื่อนที่ของฝุ่นละอองมาจากแหล่งกำเนิดทั้งภายในและภายนอกจังหวัด

     

 ส่วนพื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านท่าทุ่งนา บริเวณป่าเขาหลังโรงเรียนบ้านช่องสะเดา (ไฟฟ้าฝ่ายผลิตอุปถัมภ์)นายพีร พวงมาลี  หัวหน้าสถานีควบคุมไฟป่าสลักพระ-เอราวัณ ได้ร่วมมือกับ นายวสันต์ สุนจิรัตน์  กำนัน ต.ช่องสะเดา อ.เมือง จ.กาญจนบุรี พร้อมทีมปกครองตำบลช่องสะเดา องค์กรภาคีเครือข่าย ผู้นำท้องที่ 

 

 นำโดยนางสาวปภัสร์ลภัส แดงกูล นายกองค์การบริหารส่วนตำบลช่องสะเดา กฟผ.เขื่อนท่าทุ่งนา นำโดยนายพลายงาม ชัชวาลย์ หัวหน้ากองโรงไฟฟ้าเขื่อนท่าทุ่งนา เจ้าหน้าที่สถานีควบคุมไฟป่าสักพระ-เอราวัณ คณะครูและนักเรียนโรงเรียนบ้านช่องสะเดา(การไฟฟ้าฝ่ายผลิตอุปถัมภ์) ตลอดจนจิตอาสา ร่วมกันขับเคลื่อนแนวทางการดำเนินงานป้องกันไฟป่าหมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ประจำปี พ.ศ.2567 ในการบริหารจัดการเชื้อเพลิงในระดับพื้นที่ตำบลช่องสะเดา

    

เนื่องจากไฟป่าอาจจะเริ่มในช่วงปลายเดือนมกราคม และเกิดขึ้นมากที่สุดในช่วงเดือนเมษายน ตรงกับช่วงภาวะเอลนีโญที่มีอากาศแห้งแล้ง โดยเป็นภาวะที่เอื้ออำนวยต่อการเกิดไฟป่ามากเป็นพิเศษ ถ้าไม่วางแผนกันตั้งแต่ตอนนี้ การป้องกันและควบคุมป่าในช่วงเวลานั้นคงไม่มีประสิทธิภาพ จนนำไปสู่ปัญหาฝุ่น PM 2.5”

  

การชิงเผา (Early Burning) การชิงเผาเป็นวิธีการหนึ่งของการเผาตามกำหนด (Prescribe Burning) อันเป็นการใช้ประโยชน์จากไฟ เพื่อการจัดการป่าไม้ การชิงเผามีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อลดปริมาณเชื้อเพลิงในป่าลง ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดโอกาสในการเกิดไฟป่า หรือถ้าเกิดไฟป่าขึ้น ความรุนแรงและอันตรายของไฟนั้น(Fire Hazard) จะมีน้อยลงสามารถควบคุมไฟได้ง่ายและปลอดภัย

 



 


 






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.