เปิด ปิด การใช้งานคุกกี้ของ ทรูฮิต (Truehits Cookies)



ชาวกาญจน์เตรียมจัดงานเทิดพระเกียรติ 110 ปี ชาตกาล สมเด็จพระสังฆราชเจ้า


19 ต.ค. 2566, 15:12



ชาวกาญจน์เตรียมจัดงานเทิดพระเกียรติ 110 ปี ชาตกาล สมเด็จพระสังฆราชเจ้า




ผู้สื่อข่าว ONB news รายงานว่า ที่หอพระประวัติ วัดเทวสังฆาราม พระอารามหลวง (วัดเหนือ) กำหนดจัดงาน “110 ปี ชาตกาลสมเด็จพระสังฆราชเจ้า รอยทางเจริญธรรม”ระว่างวันที่ 24-26 ตุลาคม 2566 ณ ลานกิจกรรมอาคารหอพระประวัติสมเด็จพระญาณสังวร วัดเทวสังฆาราม ตำบลบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี โดย ร้อยโททศพล  ชัยโกมินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี พร้อมคณะกรรมการหอพระประวัติพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ร่วมจัดให้แถลงข่าวเตรียมจัดงานเทดพระเกียรติ 110 ปี ชาตกาลสมเด็จพระสังฆราชเจ้า

 

ร้อยโท ทศพล  ชัยโกมินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี กล่าวว่า ชาวกาญจนบุรี ได้เกิดในแผ่นดินของสมเด็จพระสังฆราชเจ้าองค์ที่ 19 ด้วย รวมถึงตนเองในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี และเป็นเป็นชาวจังหวัดกาญจนบุรี พระองค์เป็นพระสุปฏิปันโน ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ จนชาวโลกได้ยกย่องพระองค์นี้ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ท่านได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนามาตลอด เพยแพร่ไพศาลไปทั่วโลก เป็นผู้นำสงฆ์สูงสุดของโลก และในการจัดกิจกรรมเทิดพระเกียรติ 110 ปี ชาตกาล สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ท่านอาจารย์เนาวรัตน์  พงษ์ไพบูลย์ เป็นเลือดเนื้อเชื้อไขชาวกาญจนบุรี ก็จะมาร่วมกิจกรรม และยังมีกิจกรรมอื่นๆ ภายในงานมากมาย

 

ดร.ธีระชัย ชุติมันต์ ประธานคณะกรรมการพัฒนาหอพระประวัติ กล่าวว่า การจัดงานครั้งนี้ สืบเนื่องมาจาก พระเดชพระคุณพระกิตติสุวัฒนาภรณ์ ดร. เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม พระอารามหลวง  ได้ปรารภกับคณะกรรมการพัฒนาหอพระประวัติ ถึงพระเมตตาในสมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณสังวร ด้วยเดือนตุลาคม ของทุกปี เป็นเดือนแห่งการประสูติ  และสิ้นพระชนม์ของสมเด็จฯท่าน และในเดือนตุลาคม ศกนี้ ทรงมีพระชาตกาล 110 ปี  พระครูกิตติสุวัฒน์ภรณ์ ดร. หลวงบุญพ่อเพิ่ม เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม จึงได้ดำริเห็นควรจัดงานเทิดพระเกียรติ แด่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า

 

โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร เผยแผ่พระจริยวัตรอันงดงาม ด้วยพระองค์ทรงเป็นต้นแบบของความกตัญญู ความอ่อนน้อมถ่อมตน เผยแผ่พระนิพนธ์ในสมเด็จพระสังราชเจ้าฯ ซึ่งเป็นสมบัติอันล้ำค่าของชาวพุทธ  ตลอดจนเพื่อส่งเสริมหอพระประวัติสมเด็จพระญาณสังวร อุทยานการเรียนรู้พระพุทธศาสนาแห่งชาติ แห่งนี้ ให้เป็นที่รู้จักมายิ่งขึ้น ในฐานะแหล่งเรียนรู้ และการท่องเที่ยวเชิงศาสนา ด้วยพระองค์ท่านทรงมีพระชาติภูมิ เป็นชาวปากแพรก ตำบลบ้านเหนือ กาญจนบุรี ทรงผนวชครั้งแรกที่วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) ตลอดระยะเวลากว่า 80 ปี ในขณะที่ยังทรงพระชนชีพได้ทรงทำนุบำรุง ส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้เกิดความมั่งคง ทั้งในประเทศและในระดับนานาชาติ ไทย.

 

จึงได้ชื่อว่าเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาของโลก รวมทั้งทรงปฏิบัติพระศาสนกิจ นำหลักธรรมมาเผยแผ่ต่อพุทธศาสนิกชน เพื่อให้ชาวพุทธได้น้อมนำหลักธรรมนำไปสู่การปฏิบัติ ตลอดจนพระจริยวัตรอันงดงามเป็นแบบอย่าง ทั้งในหมู่สงฆ์และประชาชนทั่วไป รวมถึงพระเมตตาที่ทรงสร้างสถานศึกษา สถานพยาบาล ให้กับชาวกาญจนบุรี ถือเป็นพระกรุณาอย่างหาที่สุดมิได้ ด้วยสำนึกในพระกรุณาธิคุณ วัดเทวสังฆาราม  จึงกำหนดจัดงาน “110 ปี ชาตกาลสมเด็จพระสังฆราชเจ้า รอยทางเจริญธรรม”ระว่างวันที่ 24 - 26 ตุลาคม 2566  ณ ลานกิจกรรมอาคารหอพระประวัติสมเด็จพระญาณสังวร วัดเทวสังฆารามพระอารามหลวง (วัดเหนือ) โดยในวันที่ 24 ตุลาคม เวลา 07.00 น.จัดให้มีพิธีอัญเชิญพระอัฐิจากพระอุโบสถหลังเก่าไปตามเส้นทางที่กำหนด เพื่อให้พุทธศาสนิกชนชาวกาญจนบุรี ได้กราบสัการะ โดยมีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทุกหมู่เหล่าร่วมขบวนอัญเชิญพระอัฐิราว 1,000 คน จากนั้นนำพระอัฐิมาประดิษฐานยังอาคาร  หอพระประวัติตลอดห้วงเวลาของการจัดงาน

 

โดยมี ร.ท.ทศพล ไชยโกมินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรีเป็นประธาน นอกจากนั้น ยังมีกิจกรรมทางศาสนกิจปฏิบัติธรรมถวายเป็นสังฆบูชา กิจกรรมเสวนารอยทางเจริญธรรม..สังฆราชา ผู้เป็นต้นแบบแห่งความกตัญญู และอ่อนน้อมถ่อมตน การประกวดเรียงความ กล่าวสุนทรพจน์ ขับร้องเพลง เทิดพระเกียรติสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ระดับประถม มัธยม การแสดงดนตรีออร์เคสตร้า และ การแสดงดนตรีเพลงไทยลูกทุ่ง โดยโรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรี 1 บ้านเก่าวิทยา การแสดงของนักเรียนสังกัดเทศบาลเมืองกาญจนบุรี ทั้ง 5 แห่ง การแสดงของสมาคมชมรมผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย จังหวัดกาญจนบุรี และโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดกาญจนบุรี ร่วมกับชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา และการแสดงละครเทิดพระเกียรติ ประกอบ แสง สี เสียง และสื่อผสม ชุด รอยทาง เจริญธรรม ซึ่งนักแสดงทั้งหมด เป็นนักแสดงรับเชิญ จิตอาสา จากรั้วบวร บ้าน วัด โรงเรียน และส่วนราชการ ที่มุ่งมั่น ตั้งใจ ที่จะถ่ายทอดเรื่องราวของเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ตลอดจนความเป็นมาของวัดเหนือแห่งนี้ ผ่านการแสดง ด้วยความภาคภูมิใจ จึงขอเชิญชวนพี่น้องชาวกาญจนบุรี และนักท่องเที่ยว กราบพระอัฐิเพื่อความเป็นสิริมงคล ณ อาคารหอพระประวัติ ชมนิทรรศการ และร่วมกิจกรรมเทิดพระเกียรติ 24-26 ตุลาคม ศกนี้

 

ประวัติ...สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร มีพระนามเดิมว่า เจริญ คชวัตร ประสูติเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2456 ที่ตำบลบ้านใต้ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นบุตรคนโตของพระชนนีกิมน้อย คชวัตร และพระชนนีกิมน้อย คชวัตร พระองค์มีน้องชาย 2 คน ได้แก่ นายจำเนียร คชวัตร และ นายสมุทร คชวัตร พระชนกของพระองค์ป่วยเป็นโรคเนื้องอกและเสียชีวิตไปตั้งแต่พระองค์ยังเล็ก หลังจากนั้น พระองค์ได้มาอยู่ในความดูแลของนางกิมเฮ้ง หรือกิมเฮง ซึ่งเป็นพี่สาวของพระชนนีกิมน้อย ที่ได้ขอพระองค์มาเลี้ยงดู และนางกิมเฮ้งจึ งตั้งชื่อหลานชายผู้นี้ว่า "เจริญ"

 

พระชนกน้อย คชวัตร เป็นบุตรคนที่สามจากทั้งหมดสี่คนของเล็ก กับแดงอิ่ม คชวัตร เป็นหลานปู่-หลานย่าของหลวงพิพิธภักดี ผู้เคยเป็นข้าราชการชาวกรุงเก่า กับนางจีนผู้ภริยาหลวงพิพิธภักดีเป็นหลานยายของท้าวเทพกระษัตรี ส่วนพระชนนีกิมน้อย หรือน้อย ซึ่งเคยเปลี่ยนชื่อเป็นแดงแก้วนั้น มีบิดาเป็นคนเชื้อสายจีนคือนายเฮงเล็ก แซ่ตั๊น กับมารดาเชื้อสายญวนชื่อนางทองคำ ครั้นนายเฮงเล็กถึงแก่กรรม นางทองคำจึงสมรสใหม่กับนายสุข รุ่งสว่าง มีบุตรด้วยกัน 4 คน

 

เมื่อพระชันษาได้ 8 ปี ทรงเข้าเรียนที่โรงเรียนประชาบาล วัดเทวสังฆาราม จนจบชั้นประถม 5 (เทียบเท่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2 ในปัจจุบัน) เมื่อ พ.ศ. 2468 ในขณะที่มีพระชันษา 12 ปี หลังจากนั้น ทรงไม่รู้ว่าจะเรียนอะไรต่อและไม่รู้ว่าจะเรียนที่ไหน ทรงเล่าว่า "เมื่อเยาว์วัยมีพระอัธยาศัยค่อนข้างขลาด กลัวต่อคนแปลกหน้า และค่อนข้างจะเป็นคนติดป้าที่อยู่ ใกล้ชิดกันมาแต่ทรงพระเยาว์โดยไม่เคยแยกจากกันเลย" จึงทำให้พระองค์ไม่กล้าตัดสินพระทัยไปเรียนต่อที่อื่น

 

เมื่อพระองค์ยังทรงพระเยาว์นั้นทรงเจ็บป่วยออดแอดอยู่เสมอ โดยมีอยู่คราวหนึ่งที่ทรงป่วยหนักจนญาติ ๆ ต่างพากันคิดว่าคงไม่รอดแล้วและได้บนไว้ว่า ถ้าหายป่วยจะให้บวชเพื่อแก้บน แต่เมื่อหายป่วยแล้ว พระองค์ก็ยังไม่ได้บวช จนกระทั่งเรียนจบชั้นประถม 5 แล้ว พระองค์จึงได้ทรงบรรพชาเป็นสามเณรเพื่อแก้บนในปี พ.ศ. 2469 ขณะมีพระชันษาได้ 14 ปี ที่วัดเทวสังฆาราม โดยมีพระเทพมงคลรังษี (ดี พุทฺธโชติ) เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระครูนิวิฐสมาจาร (เหรียญ สุวณฺณโชติ) เจ้าอาวาสสวัดศรีอุปลาราม เป็นพระอาจารย์ให้สรณะและศีล

 

ภายหลังบรรพชาแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดเทวสังฆาราม 1 พรรษา และได้มาศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดเสน่หา จังหวัดนครปฐม หลังจากนั้น พระเทพมงคลรังษี (ดี พุทธฺโชติ) พระอุปัชฌาย์ได้พาพระองค์ไปยังวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร และนำพระองค์ขึ้นเฝ้าถวายตัวต่อสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร (ต่อมาคือสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์) เพื่ออยู่ศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักวัดบวรนิเวศวิหาร พระองค์ทรงได้รับประทานนามฉายาจากสมเด็จพระสังฆราชว่า “สุวฑฺฒโน” ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้เจริญดี” จนกระทั่งพระชันษาครบอุปสมบทจึงทรงเดินทางกลับไปอุปสมบทที่วัดเทวสังฆารามเมื่อ พ.ศ. 2476 ภายหลังจึงได้เดินทางเข้ามาจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร เพื่อทรงศึกษาพระธรรมวินัยและที่วัดบวรนิเวศวิหารนี่เอง พระองค์ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทซ้ำในธรรมยุติกนิกายเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 (นับแบบปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. 2477) โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระเทพเมธี (จู อิสฺสรญาโณ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์

 

พระองค์ทรงเริ่มเรียนพระปริยัติธรรมตามคำชักชวนของพระเทพมงคลรังษี (ดี พุทฺธโชติ) พระอุปัชฌาย์ ที่ตั้งใจจะให้พระองค์กลับมาสอนพระปริยัติธรรมที่วัดเทวสังฆารามและจะสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมเตรียมไว้ให้ โดยพระอุปัชฌาย์นำพระองค์ไปฝากไว้กับพระครูสังวรวินัย (อาจ) เจ้าอาวาสวัดเสน่หา เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2470 แล้วจึงเริ่มเรียนภาษาบาลีโดยมีพระเปรียญจากวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร เป็นอาจารย์สอน หลังจากนั้น จึงเดินทางมายังกรุงเทพมหานครเพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดบวรนิเวศวิหาร พระองค์ทรงสอบได้นักธรรมชั้นตรีได้เมื่อ พ.ศ. 2472 และทรงสอบได้นักธรรมชั้นโทและเปรียญธรรม 3 ประโยค ในปี พ.ศ. 2473

 

พระองค์ทรงตั้งพระทัยอย่างมากในการสอบเปรียญธรรม 4 ประโยค แต่ผลปรากฏว่าทรงสอบตก ทำให้ทรงรู้สึกท้อแท้และคิดว่า "คงจะหมดวาสนาในทางพระศาสนาเสียแล้ว" แต่เมื่อทรงคิดทบทวนและไตร่ตรองดูว่าทำไมจึงสอบตก ก็ทรงตระหนักได้ว่าเหตุแห่งการสอบตกนั้นเกิดจากความประมาทโดยแท้ กล่าวคือ ทรงทำข้อสอบโดยไม่พิจารณาให้รอบคอบด้วยสำคัญผิดว่าตนรู้ดีแล้ว ทั้งยังมุ่งอ่านเฉพาะเนื้อหาที่เก็งว่าจะออกเป็นข้อสอบเท่านั้น ซึ่งพระองค์ทรงพบว่าเป็นวิธีการเรียนที่ไม่ถูกต้องเพราะไม่ทำให้เกิดความรู้อย่างแท้จริง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้พระองค์สอบตก เมื่อพระองค์ทรงตระหนักได้ดังนี้แล้วจึงทรงเปลี่ยนมาใช้วิธีเรียนแบบสม่ำเสมอและทั่วถึง พระองค์จึงสอบได้ทั้งนักธรรมชั้นเอกและเปรียญธรรม 4 ประโยค ในปี พ.ศ. 2475

 

หลังจากนั้น พระองค์ทรงกลับไปสอนพระปริยัติธรรมที่โรงเรียนเทวานุกูล วัดเทวสังฆาราม เพื่อสนองพระคุณพระเทพมงคลรังษีเป็นเวลา 1 พรรษา แล้วจึงทรงกลับมาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารเพื่อทรงศึกษาพระปริยัติธรรมต่อไป โดยทรงสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค โดยในระหว่างที่ทรงอยู่วัดบวรนิเวศวิหารนั้น พระองค์ก็ยังคงกลับไปช่วยสอนพระปริยัติธรรมที่วัดเทวสังฆารามอยู่เสมอ พระองค์ยังทรงศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ง สอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค ในปี พ.ศ. 2484

 



 


 






Recommend News






MOST POPULAR


























©2018 ONBNEWS. All rights reserved.